พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง

 

 

Untitled-3

การประเมินทางวิชาการ : การตรวจทาน และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542-2548

โครงการพระไตรปิฎกสากลกำเนิดจากความประสงค์ของผู้มีจิตศรัทธาคณะหนึ่งที่จะจัดพิมพ์ฉบับอักขะระโรมันตามที่มีผู้ร้องขอจากต่างประเทศ ดังนั้นในตอนต้นจึงมิได้มีการประกาศผลงานในทางวิชาการทั่วไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีนักวิชาการจากคณะต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อาสาสมัครมาร่วมจัดทำ ซึ่งดำเนินงานในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรณ์ฯ ดังนั้นเมื่อสมาคมการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ ครั้งที่ 13 จะจัดประชุมขึ้นในประเทศไทย พ.ศ. 2545 คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นจึงขอความอนุเคราะห์จากศาสตราจารย์วิสุทธิ์ บุษยกุล ราชบัณฑิตทางตันติภาสา ผู้เป็นประธานโครงการพระไตรปิฎกสากลในขณะนั้น และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา คณะอักษรศาสตร์ เป็นผู้แสดงปาฐกถาพิเศษพร้อมวิดีทัศน์ World Tipiṭaka Critical Apparatus Visualisation ในวันปิดการประชุม ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การนำเสนอข้างต้นจึงเป็นภาพรวมของโครงการเมื่อ 15 ปี มาแล้ว ซึ่งต่อมาได้จัดพิมพ์ในวารสารต่างๆ เช่น Manusya ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย วิสุทธิ์ บุษยกุล 

ด้วยเหตุนี้การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากลจึงเป็นโครงการกุศล มิใช่โครงการทางวิชาการ แต่หวังประโยชน์ให้ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก โดยเฉพาะด้านปาฬิภาสาในระดับนานาชาติได้พัฒนาและจัดทำให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการต่อไป สำหรับนักวิชาการที่ต้องการศึกษา Critical Apparatus มีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้

World Tipiṭaka Critical Apparatus  คือ หลักฐานทางวิชาการของผลงานตรวจทาน และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ระหว่าง พ.ศ. 2542-2548 ซึ่งสามารถจัดพิมพ์เป็นชุดอักขะระโรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลก ชุด 40 เล่ม กล่าวคือ เป็นข้อมูลเนื้อหาปาฬิภาสา (Pāḷi) ที่ใช้พิมพ์อ้างอิงกับต้นฉบับปฐมภูมิ ปาฬิภาสา-อักขะระพม่า และพระไตรปิฎกอักขะระนานาชาติอื่นๆ เช่น ไทยทุกฉบับ เทวนาครีของอินเดีย สิงหลของศรีลังกา และโรมันโบราณของอังกฤษ เป็นต้น รวม 13 ชุด

การศึกษาพระไตรปิฎกในอดีตมักมุ่งเน้นการเปรียบเทียบคำปาฬิที่เขียนต่างกันในฉบับต่างๆ โดยจัดพิมพ์ "คำที่เขียนต่างกัน" ที่เรียกว่า variant readings ไว้ที่เชิงอรรถในแต่ละหน้า แต่ฉบับสากลได้นำเสนอใหม่ โดยเบื้องต้นได้จัดพิมพ์เป็นข้อมูลที่เรียกว่า World Tipiṭaka Critical Apparatus ในทุกข้อของชุดอักขะระโรมัน อ้างอิงกับการพิมพ์แต่ละหน้าของพระไตรปิฎกทั้ง 13 ชุด ซึ่งพิมพ์อ้างอิงอยู่ด้านซ้ายและขวาของหน้ากระดาษ เรียกว่า World Tipiṭaka Page Concordance 

ส่วนรายละเอียดคำปาฬิที่พิมพ์ต่างกัน หรือ variant readings ได้จัดพิมพ์ไว้ในชุดพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงสากล อีกชุดหนึ่ง รวมชุด 40 เล่ม เรียกว่า พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง (Word Tipiṭaka Studies Reference)

การจัดพิมพ์หน้าอ้างอิงกับทั้ง 13 ชุด ในยุคนั้น เป็นการแสดงหลักฐานการตรวจทานทุกคำและทุกบรรทัดของฉบับสากลกับพระไตรปิฎกฉบับที่สำคัญของโลก 13 ชุด ประมาณ 2,000 เล่ม ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลได้มอบเป็นธัมมทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ประดิษฐาน รวม 12 ตู้ ณ หอประไตรปิฎกนานาชาติ

ต้นฉบับ World Tipiṭaka Critical Apparatus หรือ พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ชุด 40 เล่ม ชุดปฐมฤกษ์ ดังกล่าว โครงการพระไตรปิฎกสากลได้มอบเป็นธัมมทานร่วมกับชุดอักขะระโรมัน ชุด 40 เล่ม ปัจจุบันเก็บรักษา ณ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ และ ศาลฎีกาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร 

พ.ศ. 2563 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้จัดทำ World Tipiṭaka Critical Apparatus เป็น "คลังพระไตรปิฎกศึกษาในระบบดิจิทัล" หรือ Digital World Tipiṭaka Repository และที่สำคัญคือ ได้มีการเพิ่มข้อมูลการเขียนคำต่าง ด้วย โดยจัดพิมพ์เป็น "สัททะอักขะระ-ปาฬิ" (Pāḷi Phonetic Alphabet) พร้อมทั้งการอ้างอิงวิธีออกเสียงตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ตามสิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์อัตโนมัติ ได้แก่ World Tipiṭaka Patent 46390 หรือที่เรียกว่า "เสียงสัขฌายะดิจิทัล" (Digital Sajjhāya Recitation Sound) รวม 3,052 ชั่วโมง หรือ ความจุ 1.6 เทราไบต์ 

เสียงสัชฌายะดิจิทัล จึงสามารถอ้างอิงกลับไปยังระบบการพิมพ์คำที่ต่างกันที่เชิงอรรถในหนังสือพระไตรปิฎกต่างๆในอดีต ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระไตรปิฎกสากล ซึ่งมุ่งเน้นการออกเสียงปาฬิตามการสังคายนาได้เปิดมิติการศึกษาใหม่ของ Critical Apparatus อีกมิติหนึ่ง คือ การออกเสียงพระไตรปิฎกสากล เพื่อเปรียบเทียบกับฉบับต่างๆ ตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ โดยได้สร้าง Critical Apparatus เป็นระบบเสียงสัชฌายะในเทคโนโลยีทางเสียงเพื่อประสิทธิภาพในการศึกษาต่อไปในอนาคต

ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง

​​เนื้อหา​สำคัญ​ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นคร้ังแรกใน​ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง​ ​คือ​ ​ข้อมูล​ความ​ต่าง​กัน​ระหว่าง​ต้นฉบับ​อักษร​ต่างๆ ​ของ​แต่ละ​ชาติ​ ​เช่น​ ​การ​อ้างอิง​ได้​เปรียบ​เทียบ​การ​แบ่ง​เล่ม​ระหว่าง​พระ​ไตรปิฎก​ฉบับ​ต่างๆ​ ​ของ​โลก​ที่​สำคัญ​ ​รวม​ ​13​ ​ฉบับ​ ​ทำให้​ข้อมูล​จาก​หนังสือ​อ้างอิง​นี้​แม้​จัด​ทำ​เฉพาะ​เป็น​คู่มือ​พระ​ไตรปิฎก​ฉบับอักษร​โรมัน​ ​แต่​ก็​สามารถ​ใช้​ประกอบ​การ​ศึกษา​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ฉบับ​อักษร​อื่นๆ​ ​ทุกฉบับในโลกได้​ด้วย​ ​

​ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง​ชุด​ใหม่​ที่​จัด​พิมพ์​เป็น​ครั้ง​แรก​นี้​เป็น​ชุด​พิเศษ​ที่​พิมพ์​ด้วย​ระบบ​การ​พิมพ์​ดิจิทัล​ ​ปก​แข็ง​สี​เทา​และ​สัน​สี​กรมท่า​ ​พิมพ์​ด้วย​กระดาษ​คุณภาพ​สูง​จาก​ประเทศ​เยอรมันนี​ ​มี​การ​ปัด​ฝุ่น​สี​เงิน​ที่​ริม​สัน​กระดาษ​เพื่อ​ความ​สวยงาม​และ​ป้องกัน​ความชื้น​ ​แบ่ง​เป็น​หมวด​หมู่​ต่างๆ​ ​คือ​ ​ ​

​​หมวด​ดัชนี​คำ​ปาฬิ​ ​(​Word​ ​Index​)​​​ ​9​ ​เล่ม​ เป็นการ​รวบรวม​คำ​ภาษา​ปาฬิ​ใน​พระ​ไตรปิฎกปาฬิ​โดย​เรียง​ตาม​เสียง​ภาษา​ปาฬิ​ ​ซึ่ง​ใน​อดีต​แม้​จะ​มี​การ​จัด​พิมพ์​แล้ว​ ​แต่​ครั้ง​นี้​เป็นการ​จัด​พิมพ์​จาก​ข้อมูล​การ​ประชุม​สังคายนา​นานาชาติ​ ​และ​​จัด​พิมพ์​ด้วย​ระบบ​เรียง​พิมพ์​พิเศษ​ ​เช่น​ ​การ​พิมพ์​สัญลักษณ์​การ​ออก​เสียง​ควบ​กล้ำ​ใน​ภาษา​ปาฬิ​ ​ซึ่ง​ถือ​เป็นการ​พิมพ์​ดัชนี​ใน​พระ​ไตรปิฎก​ที่​ไม่​เคย​มี​การ​จัด​ทำ​มา​ก่อน​

​หมวด​ดัชนี​คำ​ต่าง​ ​(​Variant​ ​Readings​)​ ​8​ ​เล่ม​ ​คำ​ต่าง​​ ​คือ​ ​คำ​ภาษา​ปาฬิ​ที่​พิมพ์​แตก​ต่าง​กัน​ใน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ฉบับ​ต่างๆ​ ​ซึ่ง​แต่​เดิม​จัด​พิมพ์​ใว้​ใน​เชิงอรรถ​ของ​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​ต่างๆ ได้แก่ พระไตรปิฎกอักษรสิงหล​ ​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​พม่า​ ​และ​พระ​ไตรปิฎก​อักษร​สยาม​/ อักษรไทย แต่ใน​การ​จัด​พิมพ์​เป็น​หนังสือ​อ้างอิง​ครั้ง​นี้​ได้​นำ​ข้อมูล​มา​ตรวจ​ทาน​ใหม่​ทั้งหมด​ให้​ถูก​ต้อง​สมบูรณ์​และ​ได้​จัด​พิมพ์​ทั้ง​รวม​เล่ม​และ​แยก​เล่ม​เป็น​ประเภท​ต่างๆ​ ​เป็น​ครั้ง​แรก​ ​หนังสือ​อ้างอิง​ใน​หมวด​นี้​ทำให้​สามารถ​ศึกษา​ข้อ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ทุก​ฉบับ​ของ​โลก​ได้​อย่าง​ละเอียด​ ​ที่​สำคัญ​คือ​ทำให้​ประชาชน​ทั่วไป​เข้าใจ​ใน​ข้อ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​การ​พิมพ์​พระ​ไตรปิฎก​ภาษาปาฬิอักษร​ต่างๆ​ ​กับ​ฉบับ​สากล​อักษร​โรมัน​ ​ซึ่ง​จะ​นำ​ไป​สู่​การ​ตรวจ​ทาน​และ​ปรับปรุง​การ​จัด​พิมพ์​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​ด้วย​อักษร​ต่างๆ​ ​ของ​แต่ละ​ประเทศ​ให้​บริสุทธิ์​และ​สมบูรณ์​ยิ่ง​ขึ้น​

ตัวอย่างเนื้อหาคำต่าง

หมวดดัชนีข้อมูลลักษณะพิเศษต่างๆ เช่น ดัชนีสารบัญแสดงโครงสร้างพระไตรปิฎก (Table of Content) ดัชนีคำควบกล้ำ แสดงคำที่ออกเสียงยาก (Examples of Examples of Aḍḍhasara Consonant) และดัชนีอุเทศและนิเทศ แสดงคำจำกัดความของศัพท์ที่สำคัญ (Examples of Uddessa & Niddessa) และดัชนีตสฺสุทานํ แสดงบทสรุปข้อความในพระไตรปิฎก (Index to Tassuddānaṃ Summary) เป็นต้น

หมวด​​ดัชนี​คำ​ภาษา​ปาฬิ​พร้อม​ด้วย​ตัวอย่าง​ประโยค​ที่​สำคัญ​ ​(​Examples​ ​of​ ​Pāḷi​ ​Tipiṭaka​ ​Corpus​)​ ​รวม​ ​17​ ​เล่ม​ ​เป็นการ​แสดง​ตัวอย่าง​ ​คำ​ศัพท์ในภาษาปาฬิ​ ​พร้อม​ตัวอย่าง​ประโยค​ใน​บริบท​ต่างๆ​ ​ใน​แต่ละ​คัมภีร์​ใน​พระ​ไตรปิฎก​ ​ดัชนี​ชุด​นี้​จะ​เป็น​คู่มือ​ใน​การ​แปล​ ​และ​หลัก​ไวยากรณ์​การ​ใช้​คำ​ปาฬิ​ใน​รูป​แบบ​ต่างๆ​ ​สำหรับ​ประชาชน​ทั่วไป​จะ​สามารถ​ใช้​ดัชนี​นี้​เป็น​คู่มือ​ใน​การ​ศึกษา​คำ​ศัพท์​ปาฬิ​ที่​มี​ความ​หมาย​แตก​ต่าง​กัน​ใน​บริบท​ต่างๆ​ ​ได้​ ​

 

 

Tipitaka Studies Vol.11 Variant Readings Part 5 by Dhamma Society on Scribd