พระไตรปิฎกอักขะระไตลาว-ปาฬิ

พระไตรปิฎกชุดชาติพันธุ์ไต

ภาพโดยพระบรมราชานุญาต
หนังสือ ที่ พว 0005.1/771

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ผู้ทรงเป็นประธานการพิมพ์เพื่ออนุรักษ์ต้นฉบับ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 เสด็จเป็นประธานในพิธีพระราชทาน ต้นฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) ในพระไตรปิฎกสากล ซึ่งจัดพิมพ์เป็นชุด อักขะระชาติพันธุ์ไตชุดต่างๆ (Tai Scripts) คู่ขนาน กับ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) รวม 9 ชุดอักขะระ โดยได้พระราชทานต้นฉบับแก่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. 2557 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง 

พิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากลจัดขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวาระที่ ชุดสัททะอักขะระในการพิมพ์พระไตรปิฎกสากลดังกล่าว สามารถสร้างสรรค์สำเร็จขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในรัชกาลที่ 9 โดยได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรก The World Tipiṭaka Patent No. 46390 พ.ศ. 2557 (2014)

ต้นฉบับพระไตรปิฎกสากล ชุดสัททะอักขะระ-ปาฬิ  (Pāḷi Phonetic Alphabet) ได้พระราชทานแก่สถาบันศาล ในฐานะที่พระไตรปิฎกเปรียบเป็นพระธรรมศาสตร์เก่าแก่ ซึ่งเป็นรากฐานทางกฎหมายของมนุษยชาติ ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้อำนาจทางตุลาการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตรย์ไทย

หมายเหตุ : ในภาพคือต้นฉบับ ภิกขุปาติโมกขะปาฬิ อักขะระไตขืน-ปาฬิ (เชียงตุง) จากชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต-ปาฬิ 9 ชุดอักขะระ ปัจจุบัน พ.ศ. 2563 ได้มีการจัดเพิ่มเป็นพระไตรปิฎกสากล 18 ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต ชุดละ 40 เล่ม เป็นทั้งชุดหนังสือและระบบดิจิทัลพร้อมเสียงสัชฌายะดิจิทัล รวม 3,052 ชั่วโมง ความจุ 1.6 เทระไบต์

อักษรธรรมที่ใช้เขียนพระไตรปิฎกของลาวอาจสรุปความเป็นมาได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. อักษรธรรมล้านช้างโบราณ 2. อักษรพินทุบอดลาว และ 3. อักขะระชาติพันธุ์ไตลาว-ปาฬิ ในโครงการพระไตรปิฎกสากล

ชุดที่ 1. อักษรธรรมล้านช้างเป็นอักษรที่ใช้เขียนพระไตรปิฎกในคัมภีร์ใบลานโบราณ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรล้านช้างเก่าแก่ที่มีดินแดนครอบคลุมต่อจากล้านนาทางภาคเหนือ และภาคอิสานของไทย ตลอดจนประเทศลาวในปัจจุบัน อิทธิพลในทางอักขรวิธีเขียนและอ่านของอักษรธรรมล้านช้างสืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ของชนชาติไตในล้านช้างและล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นยุคที่พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาทำการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยให้บันทึกด้วยอักขะระล้านนา และต่อมาในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งล้านช้าง ที่ได้เคยปกครองนครเชียงใหม่ของล้านนาในอดีต ทำให้อักขรวิธีล้านนาแพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านช้างด้วย

ความคล้ายคลึงของอักขรวิธีธรรมล้านช้างกับธรรมล้านนาในพระไตรปิฎกสามารถเห็นได้จากการเสียงสะกดและเสียงกล้ำโดยการใช้วิธีซ้อนอักขะระ หรือ ซ้อนพยัญชนะเพื่อเขียนเสียงกล้ำ เช่นเดียวกับอักขรวิธีไตยวน-ปาฬิ ของล้านนาในปัจจุบัน

สังเกต ในอักขรวิธีธรรมล้านช้าง รูปซ้ายมือการเขียน สระ-โอ ซึ่งเป็นสระเสียงเดี่ยวด้วยอักขะระสองตัวทำให้รุงรัง ไม่มีประสิทธิภาพเท่าสัญลักษณ์ สระ-โอ ตัวเดียวในสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ รูปซ้ายล่าง และในรูปขวามือเมื่อ สระ-โอ เป็นเสียงกล้ำย่อมเพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้นทำให้อ่านยากสำหรับคนทั่วไปที่ไม่รู้ไวยากรณ์

ปัจจุบันใบลานเหล่านี้ได้สูญหายไปหมด อักขรวิธีธรรมล้านช้างซึ่งมีการเขียนซ้อนอักขะระ หรือ ซ้อนพยัญชนะเป็นเอกลักษณ์จึงมิได้แพร่หลาย แม้ลาวในปัจจุบันก็มิได้ใช้อักขรวิธีซ้อนพยัญชนะนี้แล้ว

ชุดที่ 2 คือ อักษรที่ใช้พิมพ์พระไตรปิฎกชุดล่าสุดของลาว เริ่มต้นประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า อักขรวิธีพินทุบอดลาว เพราะเป็นชุดที่ได้รับอิทธิพลจากพระไตรปิฎกไทยที่เขียนทั้งเสียงสะกดและเสียงกล้ำด้วยสัญลักษณ์จุดพินทุบอด (  .  )​ ซึ่งเริ่มใช้หลัง พ.ศ. 2470 ดังที่กล่าวแล้วว่าอักขรวิธีนี้ใช้หนึ่งเครื่องหมายแสดงสองหน้าที่คือทั้งพยางค์เสียงสะกดและพยางค์เสียงกล้ำ จึงทำให้ยากในการแบ่งพยางค์อ่านเสียงสะกดและเสียงกล้ำสำหรับประชาชนทั่วไป

ประมาณ พ.ศ. 2552 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้มีโอกาสได้ไปสังเกตการณ์และพบว่า คณะสงฆ์ลาวจัดทำพระไตรปิฎกโดยคัดลอกจากต้นฉบับฉัฏฐสังคีติชุด 40 เล่ม ของพม่า ที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยวิปัสสนาโกเอ็นก้า แต่ยังแบ่งเป็นชุด 45 เล่ม ตามต้นฉบับของไทย (แต่สำหรับชุดอักขะระชาติพันธุ์ไตลาว-ปาฬิ) ที่จะนำเสนอต่อไป เป็นการปริวรรตจากฉบับอักษรโรมันตามต้นฉบับฉัฎฐสังคีติ ซึ่งตรวจทานและปรับปรุงจัดพิมพ์ใหม่ ในโครงการพระไตรปิฎกสากล นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมการอ้างอิงการถอดเสียงปาฬิ หรือที่เรียกว่า การออกเสียงสัชฌายะตามอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436​

ข้อที่น่าสังเกตคือ พระไตรปิฎกชุดอักขะระชาติพันธุ์ไตลาว-ปาฬิ เขียนว่า กะ-ตวา โดยเพิ่มเครื่องหมาย ( - )​ เพื่อแยกพยางค์เสียงที่ไม่สะกดออกจากพยางค์เสียงกล้ำที่ตามมา โดยต่างจากฉบับการเขียนเสียงของลาวและอักษรพินทุบอดลาวที่เขียนว่า กตฺวา ซึ่งสันนิษฐานว่า ถอดเสียงจากอักขรวิธีพินทุบอดของไทย กตฺวา เพราะเข้าใจว่า (ตฺ)​ เป็นพยัญชนะเสียงสะกด แท้จริงแล้วเป็นพยัญชนะเสียงกล้ำ (ตฺว)​ ซึ่งในอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ หรือ อักขรวิธี ไม้-อั (อะ)​ หมายถึง (  ๎ )  เช่น  กัต๎วา [กะ-ตวา]​ กล่าวคือออกเสียงพยางค์หน้าว่า [กะ-]​ ตามสัททสัญลักษณ์ ไม้-อะ และออกเสียงพยางค์หลังเป็นเสียงกล้ำ ว่า [-​ตวา]​ ตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 (ดูเพิ่มเติมพระไตรปิฎกอักขรวิธีหางแซงแซว ) ลักษณะพิเศษของอักขะระไตลาว-ปาฬิ คือการแสดงรูป สระ-อะ โดยการประวิสรรชนีย์เสมอ ทำให้แตกต่างจากพยางค์เสียงกล้ำที่พยัญชนะเขียนติดกันสองตัวโดยไม่มีสระคั่น

จากปัญหาที่อาจเกิดจากความลักลั่นของพินทุบอดซึ่งแทนทั้งเสียงสะกดและเสียงกล้ำ จึงทำให้ประเทศลาวประดิษฐ์ชุดอักขะระใหม่สำหรับออกเสียงขึ้นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลนำมาพัฒนาต่อยอด เรียกว่า ชุดที่ 3 อักขะระชาติพันธุ์ไตลาว-ปาฬิ เพื่อพิมพ์เสียงสะกดให้แยกออกจากเสียงกล้ำอย่างชัดเจน เช่น เสียงสะกด อักขะระไตลาว-ปาฬิ ใช้เครื่องหมายแสดงเสียงสะกดคล้ายไม้หันอากาศของไทย ส่วนเสียงกล้ำพิมพ์พยัญชนะสองตัวติดกันโดยไม่มีรูป สระ-อะ คั่น

โครงการพระไตรปิฎกสากลได้นำอักขะระชุดที่ 3 จัดพิมพ์คู่ขนาน กับชุดสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เป็นชุดอักขะระชาติพันธ์ไต ตามหลักการถอดเสียงอย่างละเอียดในทางภาษาศาสตร์ ที่เรียกว่า การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Transcription) ซึ่งได้มุ่งเน้นการออกเสียงละหุ (พิมพ์สีเบาโปร่ง) และเสียงคะรุ (พิมพ์สีเข้มทึบ) ตามหลัก พยัญชะนะกุสะละ (Byanjanakusala) ในพระวินัยปิฎก ปริวารวัคค์ ข้อ 455 โดยอ้างอิงกับไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นการออกเสียงปาฬิให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดของ ชุดสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ต่อไป

สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ มีรายละเอียด ดังนี้

สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (Thai Phonetic Alphabet Pāḷi) เป็นการ​เขียนเสียงปาฬิ ในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์ ด้วยรูป อักขะระไทย (Thai Alphabet) ที่พัฒนาจาก อักขะระสยาม-ปาฬิ และ สัททะอักขะระสยาม-ปาฬิ เป็น สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ (Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi) พร้อมกับระบบสัททสัญลักษณ์ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Symbol) ตามที่ได้นำเสนอแล้วในที่ประชุมสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554​ และต่อมาได้มีการจัดพิมพ์ลงในวารสารราชบัณฑิตยสถาน เพื่อ​แสดงการเขียนเสียง​ปาฬิให้แม่น​ตรง​​ตาม​หลัก​​ไวยากรณ์ในกัจจายะนะ-ปาฬิ อันเป็นการเขียนตามแนวอักขรวิธีสยามปาฬิ ในพระไตรปิฎก จปร. พ.ศ. 2436 โดยไม่​คำนึง​ถึง​เสียง​วรรณยุกต์สูงต่ำใน​ภาษา​ไทย โดย​เขียน​รูป สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ และสัททสัญลักษณ์ปาฬิ ใน​เครื่อง​หมายวงเล็บ​สัททสัญลักษณ์สา​กล [   ] ดังมีหลักการดังนี้

1. การสร้างตาราง การถอดเสียง (Transcription) ชุด สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เป็นการจัดรูป อักขะระ ที่แสดงที่กำเนิดเสียงปาฬิตามฐานอวัยวะกับลิ้นในปาก หรือที่เรียกว่า ฐาน-กรณ์    

2. การรสร้าง สัททสัญลักษณ์ (Phonetic Symbol) ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ กำหนดการออกเสียง ดังนี้

2.1 รูป สระ-อะ ที่ลดรูปใน อักขะระสยาม-ปาฬิ ใน สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ จะแสดงรูปสระ เช่น อักขะระสยาม-ปาฬิ เขียนว่า ปน สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ จะเขียนว่า [ปะนะ] สังเกตการพิมพ์สีเบาโปร่งแสดงเสียงละหุ

2.2 กรณีที่ อักขะระสยาม-ปาฬิ มี ไม้อะ (   ั ) นำหน้าพยัญชนะเสียงสะกด ซึ่งแสดงด้วย พยัญชนะที่กำกับด้วย ไม้วัญฌการ (     ) เช่น อักขะระสยาม-ปาฬิ เขียนว่า ตัส์ส สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ จะใช้อักขรวิธี ไม้ อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ คือคงรูป ไม้-อะ ไว้ แต่งดรูปไม้วัญฌการ เขียนว่า  [ตัสสะ]  ส่วนสระอื่นๆ ซึ่งตามด้วยเสียงสะกด ก็ยังคงรูปสระไว้ และงดรูปไม้วัญฌการ เช่นกัน

2.3 กรณีที่ อักขะระสยาม-ปาฬิ มี ไม้-อะ นำหน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ ซึ่งกำกับด้วยไม้ยามักการ (   ๊ ) เช่น  ต๊ว  ใน  กัต๊วา สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ จะเขียนว่า [กตว] เพื่อมุ่งเน้นเสียง สระ-อะ ให้ออกเสียงเป็นพิเศษตามหลักไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 ที่กำหนดว่า ให้สระเสียงสั้นที่นำหน้าพยัญชนะเสียงกล้ำ เป็น เสียงคะรุ-ออกเสียงนานขึ้น และใช้สัททสัญลักษณ์ ไม้กล้ำกำกับใต้พยัญชนะเสียงกล้ำทั้งสองตัว

สังเกต สระเสียงสั้นพิมพ์สีเข้มทึบ แสดงเสียงนานขึ้น เช่น ใน อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า กัต๊วา สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เป็น [กตวหิต๊วา เป็น [หิตวา]  และ  คุย๊หํ  เป็น  [คุยหัง]  และมีการใช้เครื่องหมาย จุดแบ่งพยางค์ [  . ] ทุกครั้ง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย

2.4 ในคำที่มีไม้ยามักการกำกับและอยู่หลัง สระ-เอ หรือ สระ-โอ เช่น อักขะระสยาม-ปาฬิ เขียนว่า  เท๊ว ตุเม๊ห  ใน สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ จะเขียนสลับตำแหน่งและเขียนสัททสัญลักษณ์ไม้กล้ำ ใต้อักขะระสามตัวเป็น  [ดเว]  [ตุมเห]  และ  [มุฬโห]  ตามความนิยมในอักขรวิธีเขียนในภาษาไทยปัจจุบัน และจะใช้เครื่องหมายจุดแบ่งพยางค์  [  . ] ทุกครั้ง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย

2.5 สระ-เอ สระ-โอ เมื่อตามด้วยพยัญชนะเสียงสะกด ให้ออกเป็นสระเสียงสั้น ตามคำอธิบายในไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ  สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ใช้สัททสัญลักษณ์ ไม้ไต่คู้ (   ็  )  แสดงเสียงสระเสียงสั้น ที่เป็นละหุ-ออกเสียงเร็ว เช่น อักขะระสยาม-ปาฬิî ว่า โกณ์ฑัญ์ญ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ว่า [โก็ณฑัญญะ] 

2.6 เครื่องหมาย ง-พินทุโปร่ง ( งํ ) เป็นพยัญชนะที่ประกอบกับสระเสียงสั้น (อ  อิ  อ) เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงนิคคะหิต ที่เกิดที่จมูกเท่านั้น เช่น อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เขียนว่า [สังํกัปปังํ]  อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า เอตัส๊มิํ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เขียนว่า [เอตะสมิงํ]  อักขะระสยาม-ปาฬิ ว่า ภิกขุํ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เขียนว่า [ภกขงํ] 

3. พิมพ์สัททสัญลักษณ์ของเสียงละหุคะรุ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัล กล่าวคือ เสียงละหุ-ออกเสียงเร็ว พิมพ์สีเบาโปร่ง เสียงคะรุ-ออกเสียงนานขึ้น พิมพ์สีเข้มทึบ ซึ่งเป็นการจัดทำเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ตามหลักการออกเสียงละหุคะรุตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ

ขอขอบคุณ พันเอก (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค นายกกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ และคณะ ที่ดำเนินการออกแบบ บันทึกอักขะระไตลาว-ปาฬิ ชุดนี้ เพื่อจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไต พ.ศ. 2563

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 

ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค 
ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา

ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

พ.ศ. 2563

1V-tailao by Dhamma Society on Scribd