การแทรกแซงทางเสียง

kondanna กับ Koṇḍañña ต่างกันอย่างไร ?

ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน มีเครื่องหมายกำกับพยัญชนะ-ปาฬิ เพื่อให้สามารถเขียนเสียงปาฬิ ให้แม่นตรงกับเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก

 

ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน

เช่น อักษร-n ในภาษาอังกฤษ เป็นเสียง [นะ] แต่ อักษร-ñ ในพระไตรปิฎกคือเสียง [ญะ]

ดังนั้นถ้าชาวตะวันตกไม่ใส่เครื่องหมายกำกับเสียง หรือที่เรียกว่า diacritics กำกับอักษรโรมันที่เขียนคำศัพท์ในพระไตรปิฎกแล้ว ก็จะทำให้ประชาชนทั่วไปออกเสียงผิด และสับสนกับความหมายในพระไตรปิฎกด้วย

เช่น ถ้าไม่ใส่เครื่องหมาย ~ เหนือ อักษร-n ว่า kondanna คนทั่วไปจะอ่านว่า โกน-ดัน-นะ

แต่ถ้าใส่เครื่องหมาย อักษร-ñ อย่างถูกต้อง ว่า Koṇḍañña คนทั่วไปก็จะตั้งใจศึกษาสัญลักษณ์เสียงนี้ และ อ่านว่า [โก็น-ดัญ-ญะ] (ด-ออกเสียงพ่นลม คือ เสียงพยัญชนะ ฑ)

น่าสังเกตว่า คำนี้ คนไทยส่วนใหญ่อ่านว่า [โกน-ทัน-ยะ] ซึ่งออกเสียงไม่ตรงกับฐานเสียงในไวยากรณ์กัจจายะนะ ซึ่งเป็นปัญหาของคนไทยที่เรียกว่า การแทรกแซงทางเสียง ที่เข้าใจสับสนโดยเอาเสียงพยัญชนะในภาษาไทย เช่น [ทะ] ไปปนแทรกกับเสียง [ดะ] ในประไตรปิฎก และ [ยะ] / [ya] (เสียงไม่ขึ้นจมูก) แทนเสียง [ญะ] / [ña] (เสียงนาสิก หรือ เสียงขึ้นจมูก) นอกจากนี้ ṇ และ ḍ หมายถึงเสียง ณ และ ฑ เป็นต้น

ปัญหานี้.. เป็นปัญหาที่ทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์เรียกว่า Linguistic_Interference ที่เวปนี้ได้อธิบายไว้แล้ว ผู้สนใจสามารถสืบค้นย้อนหลังได้

ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน อ้างอิง ปาฬิภาสา-อักษรสยาม

พระไตรปิฎกสากล ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม

การออกเสียงสัชฌายะมีจุดเด่นที่ทำให้ผู้ฟังรูปเสียง สามารถเห็นรูปศัพท์ได้อย่างชัดเจน อันเป็นการแก้ไขปัญหา การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการเอาเสียงของอักษรท้องถิ่นไปปนแทรกกับเสียงอักขะระปาฬิในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นปัญหาเก่าแก่และยากที่จะแก้ไข ดังนั้น สัชฌายะจึงเป็นวิธีนำเสนอวิธีการออกเสียงอย่างละเอียดในไวยากรณ์ที่เป็นสากล เพื่อการออกเสียงให้ง่ายและชัดเจนขึ้น และสามารถอ้างอิงได้ในระบบดิจิทัล

การที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับเชิญไปหอสมุดแห่งชาติ กรุงลอนดอน เมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2562 ทีีผ่านมา เพือไปมอบพระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน และ ฉบับสัชฌายะ สำหรับอ้างอิงการออกเสียงตามไวยากรณ์ ทำให้นักศึกษาพระไตรปิฎกในต่างประเทศมีหลักฐานอ้างอิงการออกเสียงที่ถูกต้องตามไวยากรณ์ปาฬิ โดยเฉพาะคัมภีร์กัจจายะนะ ซึ่งนักวิชาการชาวตะวันตกทั่วไปยังมิได้มีความรู้ที่ลึกซึ้ง

ฉบับสากลลอนดอน
linguisticinterference
tipitakalondon