ละหุ คะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ
อักขรวิธี “ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” โดย วิจินตน์ ภาณุพงศ์
ภาคีสมาชิกสํานักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การเขียนเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช (จปร.) “อักขะระสยาม” พ.ศ. ๒๔๓๖ ด้วย “การถอดอักขะระ” และ “การถอดเสียง” เป็นวิธีการบันทึกพระไตรปิฎกที่มีประสิทธิภาพสูงในทางนิรุตติศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันมิให้การออกเสียงและความหมายของเสียงปาฬิใน พระไตรปิฎกเปลี่ยนไปจากเดิม ตามที่ได้อนุรักษ์สืบทอดมาตั้งแต่ปฐมมหาสังคายนา พ.ศ. ๑ “อักขะระสยาม-ปาฬิ” เป็นการนําเสนอการเขียนเสียงปาฬิด้วยสัททสัญญลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า อักขรวิธี “ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ” เป็นระบบการเขียนที่แยก “เสียงอะ” “เสียงสะกด” และ “เสียงกล้ำ” ออกจากกันอย่างชัดเจนตามกฎไวยากรณ์ในกัจจายะนะ-ปาฬิ กล่าวคือ เครื่องหมาย “ไม้อะ” [ ั ] แสดงเสียง สระ-อะ, เครื่องหมาย “ไม้วัญฌการ” [ ์ ] แสดงเสียงสะกด และเครื่องหมาย “ไม้ยามักการ” [ ๎ ] แสดงเสียงกล้ำ ชุด “สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” ซึ่งได้นำเสนอ แล้วแก่สำนักศิลปกรรมราชบัณฑิตยสถานและจัดพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๕ ปัจจุบันเรียกว่า อักขรวิธี “ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ” เช่น สัก๎ยปุต์โต โดยปัจจุบันได้เพิ่มระบบการเขียนสัททสัญลักษณ์ “ละหุคะรุ” ตามหลักไวยากรณ์ปาฬิและได้มีการนําเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัล มาจัดพิมพ์เป็นสัททสัญลักษณ์เพื่อให้เกิด ความชัดเจนยิ่งขึ้น คือ “เสียงละหุ” เป็นสระที่ออกเสียงเร็ว พิมพ์สีเบาโปร่ง [ ะ ] [ ิ ] [ ุ ] ส่วน “เสียงคะรุ” เป็นสระที่ออกเสียงนานขึ้น พิมพ์สีเข้มทึบ [ ะ ] [ ิ ] [ ุ ] อักขรวิธี “ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ” เป็นการนําเสนออักขรวิธีใหม่สําหรับการเขียนและการอ่านเสียงปาฬิในปัจจุบันให้ แม่นตรงยิ่งขึ้น เช่น [กะ-ตวา] ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหา “การแทรกแซงของเสียง” ในภาษาไทยที่มีต่อการเขียนและอ่านเสียงปาฬิ ซึ่งในทางภาษาศาสตร์ เรียกว่า linguistic interference
คําสําคัญ : ปาฬิ, การถอดอักขะระ, การถอดเสียง, ระบบการเขียน, กัจจายะนะไวยากรณ์-ปาฬิ, ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ , ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ , การแทรกแซงของเสียง
2016 LahuGaru Thai Phonetic... by on Scribd