ฐานข้อมูลอักขะระสยามดิจิทัล

โครงการพระไตรปิฎกสากลได้​ทำการ​สืบหา​และ​ค้น​พบพระ​ไตรปิฎก​ฉบับ​อักษร​สยาม​เป็น​ชุด​ ​39​ ​เล่ม​ ​ที่​สมบูรณ์​ที่สุด​ใน​ประเทศไทย​จาก​วัด​ราชบพิธ​สถิต​มหา​สีมา​ราม​ ​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​2543​ ​และ​ได้​อัญเชิญ​มา​ประดิษฐาน​เป็นการ​ถาวร​ ​ณ​ ​หอ​พระ​ไตรปิฎก​นานาชาติ​ ​อาคาร​มหา​จุฬาลงกรณ์​ ​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ ​โดย​ระหว่าง​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​2546​-​2547​ ​ได้​ทำการ​อนุรักษ์​ต้นฉบับ​เป็น​สื่อ​ดิจิตอล​ด้วย​เทคโนโลยี​ทาง​ภาพ​ ​และ​เก็บ​เป็น​จดหมายเหตุ​อิเล็กทรอนิกส์​ ​เป็น ฐานข้อมูลอักขะระสยามดิจิทัล ​ตั้งแต่​ปี​ ​พ​.​ศ​.​​ 2548​ ​

​ดัง​นั้น​เพื่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​แพร่​หลาย​ยิ่ง​ขึ้น​ ​โครงการพระไตรปิฎกสากลจึง​จัด​ทำ​โครงการ​จัด​พิมพ์​ใหม่​ด้วย​เทคโนโลยี​การ​พิมพ์​ดิจิทัลเป็น​ชุด 40 เล่ม (รวมเล่มประมวลเนื้อหา เล่มที่ 40)​ ​และ​ยัง​ได้​จัด​ทำ​เป็น​สื่อ​อิเล็กทรอนิกส์​ต่างๆ​ ​เพื่อ​เผยแผ่​ข้อมูล​ที่​อนุ​รักษ์​ใว้​ให้​แพร่​หลาย​ยิ่ง​ขึ้น​ต่อ​ไป​ด้วย​ ​เพราะ​ข้อมูล​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​นี้​จะ​ทำให้​ชาว​โลก​ได้​ตระหนัก​ถึง​ความ​สำคัญ​อัน​ยิ่งยวด​ของ​การ​บันทึกอักขรวิธีการเขียน​และการ​สืบทอด​เสียง​ปาฬิ​ในภาษาพระธัมม์ ใน​ฐานะ​เป็น​คลัง​อารยธรรม​ทาง​ปัญญา​ของ​มนุษยชาติ​ 

ต้นฉบับ จ.ป.ร. ก่อนการอนุรักษ์บันทึกภาพดิจิทัล

 

ตัวอย่างภาพอนุรักษ์ดิจิทัล

โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ชุดนี้เป็นฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล และได้น้อมถวายแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราข สกลมหาสังฆปริณายก พ.ศ. 2555 เมื่อครั้งทรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระมหามุนีวงศ์