ปาฬิ กับ สัททอักษรสากล (IPA)
ตีพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิต พ.ศ. 2555
ปาฬิ (Pāḷi) ภาษาพระธัมม์ หรือเสียงพระธัมม์ เป็นระบบเสียงที่ไม่มีอักษรหรือระบบการเขียนเป็นของตนเอง ดังนั้นการนำอักษรโรมัน (Roman alphabet) ซึ่งเป็นอักษรเก่าแก่ของมนุษย์และเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นสากลในปัจจุบันมาใช้เขียนเป็นพระไตรปิฎกปาฬิอักษรโรมัน (Pāḷi Tipiṭaka in Roman script) ย่อมมีศักยภาพสามารถเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างรวดเร็วและทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางในนานาประเทศทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิเป็นครั้งแรกของโลกในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้แก่ พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) อักษรสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดให้จัดพิมพ์ตารางอักษรโรมันแทนเสียงปาฬิเทียบกับอักษรสยามไว้ด้วย (Siam-script to Roman-script Transliteration Table) ซึ่งช่วยให้นักวิชาการในนานาประเทศสามารถอ่านออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกชุดนี้ได้ แม้จะอ่านจากพระไตรปิฎกอักษรสยามก็ตาม
การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิฉบับสากลชุดสมบูรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งได้ดำเนินตามรอยในสมัยรัชกาลที่ 5 สู่ความเป็นสากลยิ่งขึ้น คือมีการใช้อักษรโรมันแทนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกทั้งหมด และที่สำคัญยังได้เพิ่มเติมให้เป็นมาตรฐานในระบบเสียงสากล คือ ได้เลือกใช้สัททอักษรสากล (International Phonetic Alphabet, IPA) ถอดเสียงปาฬิ เป็นสัททอักษรสากลปาฬิ (IPA Pāḷi Transcription) กำกับการออกเสียงพระไตรปิฎกปาฬิให้ถูกต้องด้วย
ศ.กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์
บทความ เรื่อง ปาฬิกับสัททอักษรสากล คู่มือการออกเสียงสัชฌายะ ซึ่งพิมพ์ประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ 40 เล่ม ในโครงการสมทบทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถสัชฌายะพระไตรปิฎกปาฬิ อันเป็นการอนุรักษ์คุณค่าของการออกเสียงพระพุทธพจน์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะนอกจากอักษรโรมันจะเป็นสื่อสากลที่ทรงคุณประโยชน์นานัปการในโลกปัจจุบันแล้ว การนำสัททอักษรสากลมารองรับการอ่านออกเสียงพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกปาฬิทำให้มหาชนทั่วโลกสามารถออกเสียงพระพุทธพจน์ปาฬิได้ถูกต้องด้วย และย่อมเป็นปัจจัยให้สืบทอดพระไตรปิฎกในฐานะคลังอารยธรรมทางปัญญาสูงสุดของมนุษยชาติให้ยั่งยืนและแพร่หลายต่อไปในอนาคต
ปาฬิ กับ สัททอักษรสากล (IPA)
พระวินัยที่เป็นส่วนรักษาปาฬิให้คงความบริสุทธิ์ถูกต้องจนถึงทุกวันนี้ด้วย อาทิ ในพระวินัยปิฎกได้ระบุชัดเจนว่า พระพุทธองค์โปรดให้เล่าเรียนพระพุทธพจน์ด้วยภาษาเดิม ได้แก่ภาษาท้องถิ่นของชาวเมืองมคธในสมัยนั้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปาฬิ และเมื่อมีผู้ทูลขอให้เปลี่ยนเป็นภาษาของชนชั้นสูงของพราหมณ์ คือ ภาษาสันสกฤต ก็ได้ทรงห้ามไว้และมีบัญญัติเป็นพระวินัยมิให้พระสงฆ์เปลี่ยนพระพุทธพจน์เป็นภาษาสันสกฤตหรือภาษาอื่นๆ ดังมีพระพุทธพจน์ว่า :
285. 1192 สมัยนั้น ภิกขุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อยเมฬะและเกกุฏะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมและนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า “พระพุุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกขุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติต่างสกุลกัน เข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตî พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า - “มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต ดังนี้เล่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ทรงติเตียนภิกขุสองรูปนั้น... ครั้นแล้วทรงทำธัมมิกถารับสั่งกะภิกขุทั้งหลาย ว่า - “ดูกรภิกขุทั้งหลาย ภิกขุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม..
แปลเพื่ออธิบายความ อ้างอิงตามเสียงปาฬิ
เขียนเสียงปาฬิ ด้วยอักษรโรมัน
ปัจฉิมบท
ปาฬิ (Pāḷi) เป็นระบบเสียงที่ไม่มีอักษรหรือระบบการเขียนเป็นของตนเอง ดังนั้นการนำ อักษรโรมัน (Roman alphabet) ซึ่งเป็นอักษรเก่าแก่ของมนุษย์และรู้จักแพร่หลายเป็นสากลในปัจจุบันมาใช้เขียนเป็นพระไตรปิฎกปาฬิอักษรโรมัน (Pāḷi Tipiṭaka in Roman script) ย่อมมีศักยภาพสามารถเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างรวดเร็วและทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางในนานาประเทศทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิเป็นครั้งแรกของโลกในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) อักษรสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดให้จัดพิมพ์ตารางอักษรโรมันแทนเสียงปาฬิเทียบกับอักษรสยามไว้ด้วย (Siam-script to Roman-script Transliteration Table) (ภาพที่ 17) ซึ่งช่วยให้นักวิชาการในนานาประเทศสามารถอ่านออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกชุดนี้ได้ แม้จะอ่านจากพระไตรปิฎกอักษรสยามก็ตาม
ดังนั้นในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิฉบับสากลชุดสมบูรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งได้ดำเนินตามรอยในสมัยรัชกาลที่ 5 สู่ความเป็นสากลยิ่งขึ้น คือมีการใช้อักษรโรมันแทนเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกทั้งหมด และที่สำคัญยังได้เพิ่มเติมให้เป็นมาตรฐานในระบบเสียงสากล คือ ได้เลือกใช้สัททอักษรสากล (International Phonetic Alphabet, IPA) ถอดเสียงปาฬิ เป็นสัททอักษรปาฬิ (IPA Pāḷi transcription) กำกับการออกเสียงพระไตรปิฎกปาฬิให้ถูกต้องด้วย
การปรับปรุงในการจัดพิมพ์อักษรโรมันครั้งนี้ย่อมส่งเสริมให้ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกได้เห็นความสำคัญและคุณค่าของการออกเสียงพระพุทธพจน์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะนอกจากอักษรโรมันจะเป็นสื่อสากลที่ทรงคุณประโยชน์นานัปการในโลกปัจจุบันแล้ว การนำสัททอักษรสากลมารองรับการอ่านออกเสียงพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกปาฬิทำให้มหาชนทั่วโลกสามารถออกเสียงพระพุทธพจน์ปาฬิได้ถูกต้องด้วย และย่อมเป็นปัจจัยให้สืบทอดพระไตรปิฎกในฐานะคลังอารยธรรมทางปัญญาสูงสุดของมนุษยชาติให้ยั่งยืนและแพร่หลายต่อไปในอนาคต
แม้ปาฬิจะไม่มีอักษรเป็นของตนเอง แต่เสียงปาฬิก็สามารถสืบทอดได้ด้วยอักษรของนานาประเทศที่บันทึกและสืบทอดพระพุทธพจน์เป็นระยะเวลายาวนานมาจนถึงปัจจุบันแล้ว บัดนี้เมื่อสามารถริเริ่มกำหนดชุดสัททอักษรสากล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เสียงกลางที่ใช้ได้กับทุกภาษาสำหรับถอดเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสากลฉบับอักษรโรมัน และนำมาจัดพิมพ์กำกับอักษรแสดงการออกเสียงพระไตรปิฎกปาฬิ ย่อมทำให้พระพุทธพจน์ปาฬิเป็นเสียงกลางหรือเสียงสากลของนานาชาติอย่างสมบูรณ์
ปัจจุบันมิอาจล่วงรู้ถึงศักยภาพและพัฒนาการในอนาคตของสัททอักษรที่ถอดเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกได้ แต่ความเป็นสากลของสัททอักษรปาฬิย่อมเป็นไปตามพุทธประสงค์ของพระบรมศาสดาในการเผยแผ่พระสัทธัมม์แก่ชาวโลกทุกเชื้อชาติตลอดกาล เพราะพระสัทธัมม์ในพระไตรปิฎก ย่อมข้ามพ้นพรมแดนแห่งประเทศ ชนชั้นวรรณะ และภาษาของเชื้อชาติในถิ่นฐานต่างๆ ทั้งปวง