การถอดอักษร และ การถอดเสียงปาฬิ

กราฟิกการถอดเสียง

กราฟิกการถอดเสียง2

กราฟิกการถอดเสียง3

ภาพการถ่ายถอดอักษร ในตารางอักษรสยาม ที่ อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย, ป.ธ.๙ เป็นผู้สืบค้นมาทำการศึกษาในโครงการพระไตรปิฎกสากล ทำให้ศาสตราจารย์กิตตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ สามารถทำการวิเคราะห์ทางวิชาการด้านภาษาศาตร์ ได้ว่า อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ แสดงหลักการพื้นฐานทางไวยากรณ์ ทั้งการถ่ายถอดอักษร (Transliteration) และ การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Transcription) ควบคู่กันไป (ดูภาพ รหัสสีเทา การถ่ายถอดอักษร และ รหัสสีฟ้า การถ่ายถอดเสียงปาฬิ) 

๑. กฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ พ.ศ. ๑+

ภาพที่แสดงกราฟิกส์ชี้แนะต่างๆ เป็นการเสนอหลักฐานของการแบ่งพยางค์ เพื่อถอดเสียงปาฬิ ให้อ่านตรงกับการแบ่งพยางค์ในไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ การอ้างอิงกับกฎไวยากรณ์ที่สำคัญ คือ กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602 สรุปได้ความว่า สระเสียงสั้น อะ อิ อุ ที่อยู่หน้าพยางค์เสียงกล้ำ เป็นเสียงคะรุ เป็นต้น

๒. หลักฐานการพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิภาสา-อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖

ศาสตราจารย์กิตตติคุณ ดร. วิจินตน์ และคณะโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้ตั้งสมมุติฐานว่า อักขรวิธีสยามปาฬิ ใช้สัททสัญลักษณ์สยาม-ปาฬิ แสดงการเขียนเสียง ที่เป็นเอกลักษณ์ 3 ประการ คือ 

1. พยางค์เสียงไม่สะกด "ไม้-อะ" หรือ เสียง สระ-อะ (  ั )

2. พยางค์เสียงสะกด "ไม้วัญฌการ" (   ์ )

3. พยางค์เสียงกล้ำ "ไม้ยามักการ" (   ๎ )

ทำให้สามารถแบ่งพยางค์เสียงสะกด กับ เสียงไม่สะกด และ เสียงกล้ำ แยกจากกันอย่างเด็ดขาด กล่าวคือ เสียงปาฬิภาสาไม่มีเสียงที่ในภาษาไทยเรียกว่า ìสะกดควบกล้ำî 

ดังนั้น คำนี้  สัก๎ย... จึงออกเสียงว่า [สะ-กยะ..] ไม่อ่าน [สัก-กยะ..] ซึ่งเป็นเสียงสะกดควบกล้ำ

๓. สูตรสกัดคณิตศาสตร์ชิดชนก พ.ศ. ๒๕๕๖

การแบ่งพยางค์ เสียง สระ-อะ นำหน้าพยางค์เสียงกล้ำ จากการอ้างอิงกับกฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602 ทำให้ศาสตราจารย์ ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ราชบัณฑิที่ปรึกษามูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้ใช้ตรรกทางคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์วิเคราะห์สมมติฐานของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. วิจินตน์  และยืนยันความแม่นตรงของสมมติฐานดังกล่าว ว่า อักขรวิธีสยาม เขียนตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ โดยอ้างอิงข้อมูลกับ ตัวอย่างคำอักษรสยาม ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ที่สำคัญ 18 คำ พร้อมกับกฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ที่ระบุวิธีออกเสียงปาฬิภาสาโดย อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙ ดังที่กล่าวถึงตอนต้น

การวิเคราะห์ของ ศาสตราจารย์ ดร. ชิดชนก จึงทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากลสามารถเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์การแบ่งพยางค์คำทุกคำในพระไตรปิฎกสากลได้สำเร็จเป็นครั้งแรก รวมทั้งสิ้น 9,442,442 พยางค์ และนำมาซึ่งการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม เป็นนวัตกรรมการแบ่งพยางค์พระไตรปิฎกอัตโนมัติเป็นครั้งแรก โดยได้รับสิทธิบัตรการแบ่งพยางค์ในพระไตรปิฎกเพื่อการแสดงผลในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (The World Tipiṭaka Patent No. 46390-2016)

สรุป 

อักขรวิธี ไม้-อะ  (อั) ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม สรุปจากหลักฐานทางไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ พ.ศ. 1 ที่ท่องจำสืบกันมาทั่วโลก และหลักฐานทางเอกสารพระไตรปิฎก อักษรสยาม-ปาฬิ พ.ศ. 2436 กับ การวิเคราะห์ทางตรรกในทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์

กราฟิกการถอดเสียง5