ระตะนะสุตตะ (Ratanasutta)

ต้นฉบับรัตนสูตร หรือ ระตะนะสุตตะ (Ratanasutta) ชุดนี้ เป็นการออกเสียง เน้น เสียงละหุ (เสียงเร็ว) และเสียงคะรุ (ลากเสียงนานขึ้น) ตามหลักไวยากรณ์ เรียกว่า "สัชฌายะ" (Sajjhāya Recitation) ตามเนื้อหาพระไตรปิฎกสากล ชุด 40 เล่ม ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ซึ่งจัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน และเผยแผ่ครั้งแรกเป็นพระธัมมทานในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์ พ.ศ. 2548 

พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548

 

การจัดพิมพ์เป็น "โน้ตเสียงปาฬิ" (Pāḷi Notation)  เป็นการมุ่งเน้นการออกเสียงปาฬิ (Pāḷi) ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอ้างอิงตามต้นฉบับ จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งได้จัดพิมพ์ อักษรสยาม (Syām Script) เทียบเสียงกับ อักษรโรมัน (Roman Script) เพื่ออ้างอิงเป็นฉบับสากล เช่น /พ/ ออกเสียง [ba] หรือ [บะ] ส่วน /ท/ ออกเสียง [ดะ] หรือ [da] เป็นต้น

"โน้ตเสียงปาฬิ" (Pāḷi Notation)

 

นวัตกรรมการเขียนเสียงปาฬิ และการแบ่งพยางค์สัชฌายะ ได้รับการตรวจสอบด้วย "สูตรสกัดคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2556" จากราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา เช่น [ตะ-สมา] หรือ [ta-smā] ออกเสียงตามไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 เป็นต้น ซึ่งต่อมามูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับสิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์อิเล็คทรอนิกส์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ 46390 (พ.ศ. 2557)

สูตรสกัดคณิตศาสตร์

 

ส่วนการสร้างสรรค์ โดยเขียนเป็นโน้ตเสียงปาฬิ พ.ศ. 2558 พร้อมทั้งการบันทึกเสียงสัชฌายะดิจิทัลที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำตามไวยากรณ์ข้างต้น จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น พ.ศ. 2562 

โน้ตเสียงปาฬิ และ เสียงสัชฌายะดิจิทัล
อักขรวิธีตาม ต้นฉบับ จปร. พ.ศ. 2436

 

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระไตรปิฎกสัชฌายะเพื่อเฉลิมพระเกียรติในรัชกาลที่ 9 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะชุดปฐมฤกษ์ และอุปกรณ์เสียงสัชฌายะดิจิทัลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2560 ในการนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิฯ อัญเชิญไปน้อมถวายแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธฯ และสถาบันต่างๆ พ.ศ. 2561

พระไตรปิฎก สัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก.

การออกเสียงที่แม่นตรงตามไวยากรณ์ในพระไตรปิฎกย่อมนำมาซึ่งปัญญา และบุญกิริยาต่อทั้งผู้ออกเสียงสัชฌายะ และผู้ที่สดับฟัง

ภาคแปล โดย อ. สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9, ศ.กิตติคุณ ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ