Sajjhāya Tepiṭaka
by
Thanpuying Dr.Tasniya Punyagupta
President of the World Tipiṭaka Foundation
B.E. 2555-2560 (2012-2017)
Sajjhāya Tepiṭaka : The Phonetic Tipiṭaka B.E. 2559 (2016) Edition
สัช์ฌาย เตปิฏก (Sajjhāya Tepiṭaka) is an orthographic writing which Emeritus Professor Dr.Vichin Phanuphong has named it in her publication as Pāḷi short A-Vowel Syām-Script Orthography. This orthography has since been transcribed into the Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi.
Sajjhāya means a phonetic recitation for studying by heart;
Tepiṭaka or Tipiṭaka, is referred to the Pāḷi Tipiṭaka : The World Edition.
In Thai Language, it is entitled พระไตรปิฎกสัชฌายะ which is printed in Thai alphabet and phonetic-symbol orthographic writing. Because the phonetic symbol is a standard linguistic system which ordinary people can read the Pāḷi dialect, the M.L. Maniratana Bunnag Dhamma Society Fund under the patronage of His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṁvara, the Supreme Patriarch of Thailand*, therefore, published it as a linguistic reference on the occasion of 2600th Anniversary of the Buddha Enlightenment in B.E. 2555 (2012).
The text of Pāḷi Tipiṭaka in the World Edition is the resolution of the Great International Tipiṭaka Council B.E. 2500 (1957) which was based on the Syām-Script 1893 Edition, one of its oldest reference manuscripts. Between 1999-2005, the Dhamma Society Fund had undertaken the proofreading of this historic manuscript anew and published it in the Roman-script transliteration edition, The Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500 (The Great International Tipiṭaka Council B.E. 2500 (1957) Edition). It was inaugurated in 2005 by Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana, the Royal Matriarch of Thailand, who followed the footsteps of her grandfather, King Chulalongkorn Chulachomklao of Syām by presenting the Roman-script edition in 40 volumes to leading international institutions worldwide which had already received the Syām-Script Edition, the world's first printed set from the King of Syām, over a century ago.
The propagation of Sajjhāya Tepiṭaka, the publication of which was based on the transcription of Syām-Script phonetic symbol as well as the Pāḷi manuscript from the Great International Tipiṭaka Council, aims to revitalizing anew the Pāḷi Sound of the original Buddha's teaching which has been recited, recorded, and handed down from generation to generation for over 2600 years, in accordance with the Kaccāyana Pāḷi Grammar of old. It is hoped that this publication will rekindle the linguistic studies of ancient Pāḷi sound in the Tipiṭaka. This Phonetic Alphabet Edition has been reviewed by erudite Pāḷi monastics as well as scholars from the Royal Society in Thailand.
This publication is respectfully dedicated to the Buddhist Sovereign Monarchy. The inaugural manuscript was presented to Their Majesties the King and Queen of Thailand, Rama IX, in 2016. The orthographic writing of the Sajjhāya Tepiṭaka Edition is today known as the LahuGaru Thai Phonetic Alphabet-Pāḷi and the Pāḷi Notation.
Thanpuying Dr.Tasniya Punyagupta
President of the World Tipiṭaka Foundation
B.E. 2555-2560 (2012-2017)
* His Holiness Prince Vajirañāṇasaṁvara, the 19th Supreme Patriarch of Thailand
Audience with H.M. the King 2017
...........................................................
สัมโมทนียกถา
สัช์ฌาย-เตปิฏก เป็นอักขรวิธีในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งศาสตราจารย์กิตติคุณดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ เรียกว่า อักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ ปัจจุบันถอดเสียงเป็น สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ว่า [สัชฌายะ] [เตปิฏะกะ]
สัช์ฌาย คือ การเปล่งเสียงปาฬิ เพื่อใช้ท่อง ศึกษา และทรงจำ (Recitation for Studying)
เตปิฏก คือ พระไตรปิฎกสากล ฉบับเพื่อการออกเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Edition)
ในภาษาไทยให้ชื่อชุดนี้ว่า พระไตรปิฎกสัชฌายะ อันเป็นระบบการเขียนเสียงปาฬิด้วยรูป อักขะระไทย และสัททสัญลักษณ์ตามอักขรวิธีในภาษาไทย และเนื่องด้วย สัททะอักขะระ เป็นระบบสัญลักษณ์ทางเสียงที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถฝึกอ่านเสียงปาฬิได้ง่ายขึ้น กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์* จึงได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นคู่มือสำหรับการอ่านออกเสียงสัชฌายะ เพื่อเผยแผ่เป็นพระธัมมทานเป็นครั้งแรก ในวาระ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ พ.ศ. ๒๕๕๕
เนื้อหาเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสัชฌายะ เป็นผลจากการสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งใช้พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม-ปาฬิ พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นต้นฉบับสำคัญ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้จัดพิมพ์ต้นฉบับสากลจากการตรวจทานใหม่ และน้อมถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กุลเชษฐ์แห่งพระราชวงศ์จักรี พระราชทานเป็นพระธัมมทานแก่นานาประเทศตามรอยพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม-ปาฬิ พ.ศ. ๒๔๓๖ ฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดแรกของโลก และพระราชทานเป็นพระธัมมทานจากกรุงสยามแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศเมื่อศตวรรษที่แล้ว
การเผยแผ่พระไตรปิฎกสัชฌายะ ด้วยการพิมพ์ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ซึ่งใช้อักขรวิธีเขียนเสียงปาฬิตามฉบับ จ.ป.ร. และใช้เนื้อหาตามฉบับสังคายนานานาชาติ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงพระพุทธพจน์ให้แม่นตรงกับเสียงปาฬิที่ได้มีการสังคายนา บันทึก และสืบทอดมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒,๖๐๐ ปี ตามวิธีการออกเสียงที่บันทึกไว้ในคัมภีร์ไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ อันจะนำไปสู่การใช้ท่องเพื่อทรงจำ หรือใช้สัชฌายะอย่างสม่ำเสมอ เป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาเสียงปาฬิในทางนิรุกติศาสตร์ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ชุดนี้ได้มีการศึกษาและคัดเลือกโดยนักวิชาการผู้เป็นปราชญ์ และอภิธัมม์บัณฑิต พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุงตามคำแนะนำของคณะสงฆ์ผู้ทรงพระปาติโมกข์ ซึ่งทรงคุณวุฒิสูงสุดทางเปรียญธัมม์ ๙ ประโยค รวมทั้งผู้เช่ียวชาญทางภาษาศาสตร์แห่งราชบัณฑิตยสถาน และได้มีการทดสอบการอ่านออกเสียงสัชฌายะเป็นอย่างดีแล้ว
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทย ที่ได้ทรงอุปถัมภ์พระไตรปิฎก ให้สืบทอดอยู่ในแผ่นดินไทยจนถึงทุกวันนี้ ผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากลจึงได้ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะเป็นปฐมฤกษ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พ.ศ. ๒๕๕๙ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นอักขรวิธี ละหุคะรุ สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ และ โน้ตเสียงปาฬิ ในการพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ
(ท่านผู้หญิง ดร.ทัศนีย์ บุณยคุปต์)
ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๐ (๒๐๑๒-๒๐๑๗)
* สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ต้นฉบับพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ