ตารางการถอดเสียงปาฬิ


ตารางการถอดอักขะระ อักขะระสยาม-ปาฬิ เป็น อักขะระโรมัน-ปาฬิ
ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. 2436

การ​เขียน​เสียง​ปาฬิในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ ด้วย การ​ถอดอักขะระ (transliteration) และ การถอด​เสียง (transcription) เป็นวิธีการบันทึกพระไตรปิฎกที่มี​ประสิทธิภาพสูงในทางนิรุตติศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันมิให้การออกเสียง และความหมายของเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกเปลี่ยนไปจากเดิมตามที่ได้อนุรักษ์สืบทอดมาตั้งแต่ปฐมมหาสังคายนา พ.ศ. ๑ อักขะระสยาม-ปาฬิ เป็นการนําเสนอการเขียนเสียงปาฬิด้วยสัททสัญญลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า อักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ เป็นระบบการเขียนที่แยกแยะ เสียงอะ เสียงสะกด และ เสียงกล้ำ ออกจากกันอย่างชัดเจนตามกฏไวยากรณ์ในกัจจายะนะปาฬิ กล่าวคือ เครื่องหมาย ไม้อะ [   ั  ] แสดงเสียง สระ-อะ, เครื่องหมาย ไม้วัญฌการ [   ์  ] แสดงเสียงสะกด และเครื่องหมาย ไม้ยามักการ [   ๎  ] แสดงเสียงกล้ำ

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอักขรวิธี ไม้-อั (อะ) อักขะระสยาม-ปาฬิ โดยเพิ่มระบบการเขียนสัททสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อให้การเขียนเสียงปาฬิแม่นตรงตามหลักไวยากรณ์ปาฬิและได้ ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการแทรกแซงของเสียงในภาษาไทยที่มีต่อการเขียนและอ่านเสียงปาฬิ ซึ่งในทางภาษาศาสตร์เรียกว่า linguistic interference (ดูตารางการถอดเสียงปาฬิ  ด้านล่าง)