ธัมมะจักก์ อักขะระ-ปาฬิ

ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะ
อักขะระ-ปาฬิ

ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะ เป็นพระสุตตะสำคัญยิ่ง เพราะในพระไตรปิฎกได้บันทึกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธัมม์ ได้รับนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ (Aññākoṇḍañña)

โครงการพระไตรปิฎกสากลมีความเห็นว่าพระสุตตะนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเสียงปาฬิที่แสดงโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพราะสภาวะเสียงปาฬินี้เองที่ทำให้บุคคลสามารถบรรลุพระธัมม์ได้ พระไตรปิฎกจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่เสียง คือ เสียงปาฬิ (Pāḷi) และการออกเสียงที่ถูกต้อง

การสังคายนาพระไตรปิฎกมีหลักการสำคัญคือการอนุรักษ์เสียงดั้งเดิมไว้โดยการทรงจำ ศึกษา และฝึกการออกเสียงปาฬิ ซึ่งปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากล ได้เรียกการออกเสียงที่แม่นตรงตามกฎไวยากรณ์นี้ว่า สัชฌายะ หรือเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Sajjhāya

เนื่องด้วยการปริวรรตอักษรเป็นอักษรของชาติต่างทำให้เกิดการแทรกแซงทางเสียง คือ การเอาเสียงท้องถิ่นของภาษาไทย ไปปนแทรกกับเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก เช่น คนไทยให้ความสำคัญในออกเสียงสระเสียงยาว มากกว่าเสียงสะกด ดังนั้น คนไทยจึงมักออกเสียงว่า โกณ.. ในคำว่า โกณฑัญญะ ซึ่งเสียงดั้งเดิมไวยากรณ์ระบุให้สระเสียงยาวที่มีตัวสะกด ต้องออกเสียงเร็ว เป็นพยางค์เสียงคะรุ ว่า โก็ณ.. ส่วน ต้องออกเสียงว่า [ดัน] เป็นเสียงที่ลิ้นแตะหลังปุ่มเหงือก ไม่ใช่เสียงว่า เหมือน ..โท เหมือน มณโฑ ในภาษาไทย 

ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสัชฌายะ ซึ่งเป็นการจัดพิมพ์ด้วยอักษรเสียงในทางภาษาศาสตร์ หรือ สัททะอักขะระ (Phonetic Alphabet) เรียกว่า พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ (Sajjhāya Phonetic Edition) นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาจัดพิมพ์เป็นฉบับโน้ตเสียงปาฬิ เพื่อให้แม่นตรงกับจังหวะเสียงละหุ และเสียงคะรุ ด้วย

ในบทนี้ได้แสดงตัวอย่างการพิมพ์โน้ตเสียงปาฬิ กำกับด้วยอักขะระ-ปาฬิ และ สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ

 

ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะ by Dhamma Society on Scribd