การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในพระไตรปิฎก
โครงการพระไตรปิฎกสากล (World Tipiṭaka Project) ซึ่งกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้นำเทคโนโลยีที่มีความหลากหลายมาใช้อนุรักษ์เสียงปาฬิ (Pali) ในพระไตรปิฎกฉบับสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 โดยได้ดำเนินงานในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์ที่ 19 เป็นเวลา 20 ปี ในปัจจุบัน พ.ศ. 2562 ปรากฏผลงานการบันทึกพระไตรปิฎกที่มี "การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล" (Tipiṭaka Digital Transformation) มีการเผยแผ่ในระบบดิจิทัล ทั้งในสื่อหนังสือและสื่อการออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎก โดยได้รับการจดสิทธิ์บัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรกที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นการยกระดับการอนุรักษ์ที่สำคัญในการบูรณาการวิธีบันทึก ศึกษา และเผยแผ่พระไตรปิฎก ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Technology) โดยเฉพาะการบูรณาการจากการบันทึกด้วย สัญลักษณ์ทางเสียง หรือ สัททสัญลักษณ์ (Phonetic Symbol) ในทางภาษาศาสตร์ เป็นนวัตกรรมการเขียน "โน้ตเสียงปาฬิ" (Pali Notaion) ในทางดุริยางคศาสตร์ ตลอดจนการบันทึกการออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสากล และสังเคราะห์เป็นเสียงสัชฌายะดิจิทัล (Digital Sajjhāya Recitation) ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดทำมาก่อน
โครงการจัดนิทรรศการการเปลี่ยนผ่านพระไตรปิฎกสากล by worldtipitaka on Scribd