Saj-jhā-ya Matrix

สัชฌายะแมทริกซ์ 
(Saj-jhā-ya Matrix) 

โดย
พระเทพวชิรมุนี (หม่อมหลวงคิวปิด ปิยโรจโน)
และคณะ

ในวาระ 100 ปี วันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
องค์ประธานกิติมศักดิ์พระไตรปิฎกสากล

 

ระบบการพิมพ์เสียงปาฬิ ด้วย สัททสัญลักษณ์ (International Phonetic Symbol) ในโครงการพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ สามารถแก้ปัญหาการออกเสียงปาฬิภาสา โดยเฉพาะ การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) ที่เกิดจากอักขรวิธี บาลี-อักษรไทยในอดีต โดยเบื้องต้นแบ่งการแก้ปัญหาเป็น ๔ ประเด็น ดังนี้ :

๑. ฟอนต์เสียงสัชฌายะ ๑๘ อักขะระที่นำเสนอใหม่ พัฒนาขึ้นโดยอ้างอิง กับ พระไตรปิฎก จปร. ปาฬิภาสา-อักษรสยาม และ พระไตรปิฎกสากล ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน ทำให้สามารถเขียนเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎกได้แม่นตรงได้ โดยเฉพาะ เสียงพ่นลม (aspirated) และ เสียงไม่พ่นลม (unaspirated) ซึ่งมีรูปเขียนชัดเจน กว่า ชุดภาษาบาลี-อักษรไทย ในอดีต

 

รูปที่ ๑ แก้ปัญหา การแทรกแซงทางเสียง

■ ดู Matrix 1 เรื่อง วิธีแก้ปัญหาการแทรกแซงทางเสียง ที่เกิดจากรูปศัพท์พยัญชนะไทยในอดีต โดยปัจจุบันสามารถถอดอักษร เป็น รูปเสียง ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน (Pāḷi  Roman-Script Transcription) และ สัททสัญลักษณ์ (Pāḷi Phonetic Symbol) ที่เป็นมาตรฐานสากล

ตัวอย่าง เสียงปาฬิ-อักษรโรมัน ว่า bud.. บุด.. ตามเสียง พยัญชนะปาฬิ  ในไวยากรณ์กัจจายะนะที่ระบุว่า /b/ และ /d/ เป็นเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) ดังนั้น พระไตรปิฎกสัชฌายะจะเขียน ปาฬิภาสา-อักษรไทย และ โรมัน ว่า  [บุด..] [bud..]

แต่ในอดีต อักษรไทยใช้รูปเขียนเสียงนี้ตามหลักการถอดเสียง (Alphabetic Transliteration) ว่า พุท.. ทำให้คนไทยที่ไม่มีความรู้ทางภาษาศาสตร์ เอาเสียงภาษาไทยท้องถิ่นไปปนกับเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก จึงกลายเสียงเป็น [พุท] ซึ่งขัดกับการถอดเสียงปาฬิตามหลักไวยากรณ์

ปัจจุบันพระไตรปิฎกสัชฌายะ พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้นำเสนอ ฟอนต์เสียงสัชฌายะชุดใหม่ ๑๘ ชุดอักขะระ (ดูรูปตัวอย่าง) เป็น สัททสัญลักษณ์ปาฬิ เพื่อแก้ปัญหาการแทรกแซงทางเสียงพยัญชนะต่างๆ ข้างต้น ได้อย่างสมบูรณ์

● ดู บทความเรื่อง สัททอักขะระไทยปาฬิ ในวารสารราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย ศ.ดร. วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● ดู สรุปรายงานโครงการพระไตรปิฎกสัชฌายะ ในคำนำ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๖

๒. พระไตรปิฎกสัชฌายะ พ.ศ. ๒๕๖๖ แสดงการแบ่งพยางค์เสียงสะกด (Final-Consonant Segmentation) โดยอ้างอิงกับ ไม้วัญฌการ ในฉบับอักษรสยาม หรือ จุดพินทุ ในฉบับอักษรไทยปัจจุบัน พร้อมทั้งยังมี การแบ่งพยางค์เสียงกล้ำ (Cluster-Consonant Segmentation) โดยอ้างอิงกับ ไม้ยามักการ ในฉบับอักษรสยาม หรือ ไม้หางแซงแซว ในฉบับ มจร. ซึ่งทั้งไม้ยามักการ และ ไม้หางแซงแซว เป็นระบบการแบ่งพยางค์ที่ชัดเจนกว่า บาลีอักษรไทย ซึ่งใช้เครื่องหมายจุดพินทุบอด แทนทั้งเสียงสะกดและเสียงกล้ำ ทำให้ลักลั่น ทำให้ชาวไทยทั่วไปสับสนการออกเสียงสะกดและเสียงกล้ำ 

รูปที่ ๒ แก้ปัญหา การแบ่งพยางค์ให้ตรงกับไวยากรณ์

ตัวอย่าง ตวา- เป็น พยางค์เสียงกล้ำ เมื่อผสมกับพยางค์ต้น กะ เช่น กะ + ตวา ต้องอ่านว่า [กะ-ตวา] [ka-tvā] แต่ปัจจุบันออกเสียงเพี้ยน เป็น กัต-ตวา คือ แบ่งพยางค์ผิด เป็น เสียงสะกดควบกล้ำ โดยเพิ่มเสียงสะกดในพยางค์ต้นและยังเอาเสียงสะกดไปกล้ำสะกดกับพยางค์ที่ตาม ซึ่ง "เสียงสะกดควบกล้ำ" ดังกล่าว ไม่มีในไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ

■ ดู Matrix 2 เรื่อง วิธีแก้ปัญหาการแบ่งพยางค์ ด้วย เครื่องหมายขีด เช่น  ยัตติภังค์ ( - ) และไม้ยามักการ เช่น (กะ-ต๎วา) ใน ปาฬิภาสา-อักษรไทย และพิมพ์เครื่องหมาย ไม้เสียงกล้ำ (Linkage Mark or Cluster Sound Symbol) ว่า ka-tvā ในฉบับอักษรโรมัน เป็นต้น

ข้อสังเกตเพิ่มเติม :
พฺยัญฺชนํ [byañ-ja-naṁ] จุดพินทุใต้ พฺย- แสดงพยัญชนะเสียงกล้ำ แต่จุดพินทุใต้ ญฺ แสดงตัวสะกด ซึ่งในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์ถือเป็นอักขรวิธีการเขียนและการอ่านที่ลักลั่น เพราะใช้เครื่องหมายจุดพินทุบอดเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน 2 หน้าที่ ทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ในพระไตรปิฎกไม่อาจรู้ว่า พยางค์ใดเป็นพยางค์เสียงสะกด และพยางค์ใดเป็นพยางค์เสียงกล้ำ

ดังนั้น ปัจจุบันจึงสับสน อ่านพยางค์เสียงกล้ำ เป็น เสียงสะกด โดยเฉพาะคำที่มี สระ-เสียงสั้น นำหน้าพยางค์เสียงกล้ำ ที่เขียนด้วยจุดพินทุบอดว่า  ตุเมฺห  ปัจจุบันสวดกันว่า  ตุม-เห  แต่แท้จริงแล้วเมื่อ 
กตฺวา ไวยากรณ์กัจจายะนะ ข้อ ๖๐๒ ให้อ่านว่า  [กะ-ตวา]  ดังนั้น พยางค์ สระ-อุ นำหน้าพยางค์เสียงกล้ำ ในคำนี้ก็ต้องออกเสียงเป็น สระ-สั้น ว่า  ตุ  ใน ตุ-เมห  หรือ  ตุ-มเห  แต่ปัจจุบันมักแบ่งพยางค์อ่านผิดเพี้ยน เป็น เสียงสะกดควบกล้ำ ว่า  ตุม-มเห  แต่ส่วนใหญ่ปัจจุบันออกเสียงสวดกันว่า  ตุม-เห  คือ เห็น มฺ เป็นตัวสะกด ไม่เห็นเป็นเสียงกล้ำ มฺห- ซึ่งที่ถูกต้องจะออกเสียงว่า  [tu-mhe]  ตามอักขรวิธีสากล ฉบับอักษรโรมัน

● ดู สิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์ เลขที่ ๔๖๓๙๐ (พ.ศ. ๒๕๕๗) ซึ่งอ้างอิงบทความ "สูตรสกัดชิดชนก" โดย ศ.ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ราชบัณฑิต ตีพิมพ์โดยราชบัณฑิตยสถาน สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภาในปัจจุบัน ในวาระ ๘๐ ปี ราชบัณฑิตสถาน (ชื่อในขณะนั้น)

๓. ปาฬิภาสา มีวิธีการออกเสียงละหุ (Lahu) และ เสียงคะรุ (Garu) ซึ่งปัจจุบัน ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการศึกษาในทางการแบ่งพยางค์ในข้อ ๒ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ในตำแหน่งพิเศษที่ไวยากรณ์กำหนดไว้ แม้เป็น สระเสียงสั้น จะสามารถออกเสียงลากยาวเป็นสองมาตรา เรียกว่า "สระสั้น-ที่ออกเสียงคะรุ" หรือ เสียงคะรุไม่แท้ (เพราะเสียงคะรุที่แท้ คือ คะรุที่มาจากสระเสียงยาว เช่น อา อี อู เอ โอ หรือ เสียงพยางค์ที่มีตัวสะกด) 

 

รูปที่ ๓. แก้ปัญหา การเขียนเสียงละหุ เสียงคะรุ

ตัวอย่าง บทที่ว่า นะ-โม [นะ] ในที่นี้เป็นเสียงคะรุ ต้องลากยาวสองมาตราเท่ากับเสียงสระโอ เช่นเดียวกับ กะ-ตวา [กะ] ในข้อ ๒ ข้างต้น ดู Kaccāyana No. 602 : Du-MhiGaru 602
 
ส่วน สระเสียงยาว ก็สามารถออกเสียงเร็วขึ้นได้ เป็นหนึ่งมาตรา เรียกว่า "สระยาว-ที่ออกเสียงละหุ" หรือ ละหุไม่แท้ (เพราะเสียงละหุที่แท้ คือ ละหุที่มาจากสระเสียงสั้น เช่น อะ อิ อุ) เช่น [เม็ต-] ใน เมตตา [met-tā] สังเกต ไม้ไต่คู้กำกับเสียงเร็ว ดู ไวยากรณ์ Rupasiddhi No. 5

■ ดู Matrix 3 เรื่อง วิธีแก้ปัญหาการแทรกแซงทางเสียงด้วยการ ถอดเสียงละหุ และ เสียงคะรุ ในปาฬิภาสา ตามหลักการถอดเสียงในทางสัทศาสตร์ เขียนเป็น สัททสัญลักษณ์ (Phonetic Symbol)

อธิบายเพิ่มว่า อักขรวิธีบาลีอักษรไทย มักไม่แสดงรูป สระ-อะ เช่น ในคำว่า อรหํ จะเห็นว่าเขียนลดรูป สระ-อะ ทั้งสองพยางค์หน้า ทำให้ชาวไทยส่วนใหญ่ อ่าน อรหํ ว่า [อร-ระ-หัง] เพราะเข้าใจผิดว่า อร- เป็น สระ-ออ จึงออกเสียงเพี้ยนว่า ออ-ระ.. ซึ่งเป็นชื่อสัตว์ ตัวเป็นนกหัวเป็นคนในป่าหิมพานต์ ไม่ใช่ชื่อ พระอะระหังํ ผู้ที่หมดกิเลสแล้ว กล่าวคือ เสียงอ่าน สระ-อะ ในปาฬิภาสา ได้ถูกการแทรกแซงเสียงด้วย เสียง สระ-ออ ในภาษาไทย ซึ่งทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์เรียกว่า การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference)

ด้วยเหตุนี้ในพระไตรปิฎกสัชฌายะ จะนำเสนอการออกเสียง สระ-สั้น ในพยางค์ต้นของคำทุกคำ เป็น เสียงคะรุ คือ เสียงที่ลากนานขึ้นเป็น ๒ มาตรา ทำให้แตกต่างจากพยางค์เสียงละหุ ที่มีจังหวะ ๑ มาตรา อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้การออกเสียง สระ-สั้น ในพยางค์ต้นทุกคำชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย  

● ดู อักขรวิธี สยามปาฬิ โดย อาจารย์ สิริ เพ็ชรไชย ปธ.๙ พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ จัดพิมพ์เป็นฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๕๔ โดย กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖

๔. ปัญหาการแทรกแซงทางเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก ด้วยเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำของการออกเสียงท้องถิ่นของไทย

รูปที่ ๔. แก้ปัญหาการเขียนเสียงปาฬิ ให้เป็นโน้ตเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ

■ ดู Matrix 4 เรื่อง วิธีแก้ปัญหารูปเขียนพยัญชนะต่างๆ โดยการจัดพิมพ์เป็น สัททสัญลักษณ์สากล ในทางดุริยางคศาสตร์ เรียกว่า พระไตรปิฎกสัชฌายะ : โน้ตเสียงปาฬิ (The Saj-jʰā-ya Phonetic Edition : The Pāḷi Tipiṭaka Notation)

เสียงปาฬิ (Pāḷi) หรือ ปาฬิภาสา (PāḷiBhāsā) เป็น เสียงในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป (Indo-Europen Linguistic Family) ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ (Monotone)

เสียงพยัญชนะในภาษาไทยเป็นเสียงของภาษาในตระกูลไต-กะได  ซึ่งมีลักษณะที่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ ดังนั้น เมื่อแทนเสียงปาฬิ  เช่น เสียงเสียดแทรกที่พ่นลมผ่านลิ้นที่แตะฟันบน /ส/ ซึ่งเมื่อเขียนว่า โส ด้วยอักษรไทย คนไทยจะออกเสียงนี้เป็นเสียงวรรณยุกต์จัตวาทันที ในขณะที่เสียงเดียวกันเมื่อเขียนด้วยอักษรโรมัน /s/ เช่น [so] ชาวโลกที่คุ้นเคยกับอักษรโรมัน จะอ่านเป็นเสียงวรรณยุกต์สามัญ เช่นเดียวกับการใช้อักษรโรมันเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ฝรั่งเศส ก็เป็นที่ยอมรับกันเป็นสากลว่า ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาการออกเสียงปาฬิมิให้มีเสียงวรรณยุกต์ จึงมีการทำวิจัยศึกษาการถอดเสียงปาฬิเขียนเป็นโน้ตเสียงดนตรีในทางดุริยางคศาสตร์ โดย นำเสนอเป็น โน้ตเสียงดนตรีสากลเส้นเดี่ยว (Single-staff Monotonal Musical Notation) ซึ่งผ่านการรับรองของศิลปินแห่งชาติทั้งในสาขาการบรรเลงดนตรีสากลและการขับร้องดนตรีสากล ว่า สามารถเรียงพิมพ์โน้ตเสียงสามัญ (Monotone) เป็นโน้ตเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎกสากล ที่มีจังหวะตามสระสั้น-ยาว กล่าวคือ มีเสียงสั้นเป็นเสียงละหุ และลากนานขึ้นเป็นเสียงคะรุ ในตำแหน่งที่ไวยากรณ์ระบุเป็นพิเศษได้

พระเทพวชิรมุนี (หม่อมหลวงคิวปิด ปิยโรจโน)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะ ๘ คณะตำหนัก และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พระไตรปิฎกสากล พ.ศ. ๒๕๔๒-ปัจจุบัน

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖

คณะตำหนัก วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานครฯ

 

รูปตาราง Four-Fold Saj-jʰā-ya Matrix 2023

ตารางแก้ปัญหาการออกเสียงปาฬิภาสา ในพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2566 

อ้างอิง สิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาในพระไตรปิฎกสากล World Tipiṭaka Patent No.46390 (2557/2014)

หมายเหตุ

การออกเสียงปาฬิที่ไม่มีระดับเสียงวรรณยุกต์ดังกล่าวได้มีการบันทึกเสียงในระบบดิจิทัล เรียกว่า การออกเสียงพระไตรปิฎกสัชฌายะ ในระดับเสียงวรรณยุกต์สามัญ ซึ่งการออกแบบโน้ตเสียงปาฬิ และ อุปกรณ์สัชฌายะอิเล็กทรอนิกส์ ที่บันทึกเสียงสัชฌายะดิจิทัลดังกล่าว ได้รับรางวัลการสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ในการแสดงนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๔๘ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๖๖

● ดูผลงานของสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดย รศ. ดร. ศศี พงศ์สรายุทธ ซึ่งนำเสนอวิธีเขียนเสียงปาฬิเป็นโน้ตเสียงสามัญที่ไม่มีระดับเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ ในพระไตรปิฎก และผลงานโน้ตเสียงพระไตรปิฎกได้รับรางวัลรัชฎาภิเษกสมโภชจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๒ และนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ณ นครเจนีวา พ.ศ. ๒๕๖๖


 

เอกสารอ้างอิง
 

 จากฐานข้อมูลสัชฌายะเบื้องต้น (The Saj-jʰā-ya Tipiṭaka Big Data) อาจสรุปสถิติเสียงปาฬิที่สำคัญ ดังนี้

๑. พยัญชนะปาฬิ ที่ อักษรโรมัน มี สัญลักษณ์ h-aspirated sound หรือ เสียงพ่นลม มีจำนวนมากถึงประมาณ ๒,๓๑๔,๐๑๗ คำ จากทั้งหมด ๒,๗๖๗,๐๗๔ คำ คิดเป็น ๘๓.๖๓% หรือ

จำนวน ๔,๑๑๗,๐๗๗ อักขะระ จากทั้งหมด ๒๐,๓๐๔,๓๖๗ อักขะระ คำในพระไตรปิฎกที่ คนไทยไม่ออกเสียงพ่นลมเลย 

●  เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว (ดู Fourfold Matrix-Solving Problem) พระไตรปิฎกสัชฌายะ มีวิธีเขียนเสียงปาฬิใหม่ คือ การออกแบบฟอนต์สัชฌายะใหม่ ๑๘ ตัว เพื่อเขียนเสียงปาฬิให้ตรงกับที่ระบุ ในไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ

สยาม

โรมัน

จำนวนคำที่พบในพระไตรปิฎก

kh

          ๒๑๙,๙๑๘

g

          ๑๘๙,๗๓๓

gh

            ๒๗,๕๒๓

ch

            ๕๐,๕๐๔

j

          ๑๗๕,๕๘๙

jh

            ๒๗,๙๖๐

            ๑๓,๓๐๕

ḍh

              ๒,๓๐๔

ṭh

            ๗๔,๑๙๖

th

          ๑๔๙,๗๒๑

d

          ๓๒๘,๙๖๕

dh

          ๒๐๗,๑๘๙

ph

            ๑๗,๔๗๔

b

          ๑๒๙,๕๐๕

bh

          ๒๐๔,๑๓๗

s

          ๘๐๔,๗๖๘

h

          ๓๐๐,๔๒๒

อํ

aṁ

          ๖๓๒,๙๐๓

๒. ถ้าอ้าง ไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ข้อ ๖๐๒ Du-mhi Garu (ที่ว่าด้วยการออก เสียง สระ-สั้น หน้าพยางค์เสียงกล้ำ) ปัจจุบัน คนไทยจะออกเสียงผิดเพี้ยน คือ จะเป็นเสียงสะกดควบกล้ำ
๙๕,๘๑๘ พยางค์ จาก ทั้งหมด ๙,๔๔๒,๔๔๒ พยางค์ แทนที่จะออกเป็น พยางค์เสียงกล้ำ 

ตัวอย่างคำดังกล่าว คือ 
กะ-ตวา ออกเสียงเพี้ยนเป็น กัต-ตวา มีจำนวนถึง ๒,๒๕๒ คำ
และ 
ตุ-เม๎ห [ตุ-มเห] จำนวน ๙๒๘ คำ ที่ออกเสียงผิดเพี้ยนเป็น ตุม-เห ซึ่งไม่มีเสียงกล้ำเลย

รวมจำนวนคำที่ออกเสียงผิดเพี้ยนสูงสุด ๑๔ คำ

ตัวอย่างคำ

จำนวนคำที่พบในพระไตรปิฎก

อาย-ส๎มา

          ๓,๓๘๐

ต-ส๎มิงํ

          ๓,๑๒๗

อุปสังกมิ-ต๎วา

          ๒,๕๖๓

ก-ต๎วา

          ๒,๒๕๒

ต-ต๎ร

          ๑,๓๗๗

ทิ-ส๎วา

          ๑,๓๒๗

ต-ส๎มา

          ๑,๓๒๔

อาย-ส๎มัน์ตํ

          ๑,๒๕๗

อ-พ๎ยากโต

          ๑,๒๓๘

ม-ย๎หํ

          ๑,๒๓๑

อ-พ๎ยากตา

          ๑,๑๒๔

พ๎ร-ห๎มจริยํ

          ๑,๐๔๔

ย-ส๎มิํ

             ๙๓๘

ตุ-เม๎ห

             ๙๒๘

● เรื่องนี้จะแก้ปัญหา โดยการเขียนเครื่องหมายแบ่งพยางค์เสียงกล้ำ ( Du-Mhi Garu hyphen (-) ดูในรูป พร้อมไม้ยามักการที่พยางค์เสียงกล้ำ -ส๎มา) ประมาณ ๙๔,๕๕๖ คำ หรือ ประมาณ ๙๕,๘๑๘ พยางค์

๓. ส่วนที่ไวยากรณ์ระบุให้ออกเสียงคะรุ (Garu) คือ เสียงที่ลากนานขึ้น ๒ มาตรา คนไทยจะไม่ออกเสียงคะรุ เลย มีคำนี้ประมาณ ๑,๗๔๘,๑๙๑ คำ จากทั้งหมด ๒,๗๖๗,๐๗๔ คำ หรือ ๒,๑๒๘,๔๒๙ พยางค์ จากทั้งหมด ๙,๔๔๒,๔๒๒ พยางค์

● ในฉบับสัชฌายะ พิมพ์เสียงคะรุ ด้วย สีดำและออกแบบหัวอักษรเข้มทึบ และออกแบบเป็น โน้ตเสียงดนตรี โน้ตหัวขาว ที่มีจังหวะเป็นสองมาตรา ซึ่งเป็นมาตรฐานการเขียนในทางดุริยางคศาสตร์ที่รู้จักกันทั่วโลก 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ข้อสุดท้ายนี้เป็นการแก้ปัญหาในเชิงภาษาศาสตร์ (Linguistic Interference) ได้อย่างสมบูรณ์ ในการพิมพ์ฉบับสัชฌายะ เพื่ออนุรักษ์เสียงปาฬิในพระไตรปิฎก

 

 

King of Siam Volume 1.pdf by Dhamma Society on Scribd