หลักการสำคัญ : ฉบับสัชฌายะ - Sajjhāya

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (World Tipiṭaka Foundation) ใช้เวลา 20 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2542-2562 ดำเนินงานตามพระบัญชาในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19 องค์พระสังฆราชูปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล ได้พิมพ์เสียงปาฬิ หรือ ปาฬิภาสา (Pāḷi Dialect) เป็น อักษรต่างๆ หรือปัจจุบันเรียกว่า อัก-ขะ-ระ (Ak-kʰa-ra in Pāḷi or alphabet in English) โดยการอ้างอิงที่สำคัญ 2 ประการ คือ 

1. การเขียนเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎกสากล

1.1. การเขียนเสียงปาฬิ
       อ้างอิงการเขียนเสียงปาฬิ จากต้นฉบับ จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งเป็นฉบับที่เขียนเสียงปาฬิด้วย สัททะอักขะระ (Pāḷi Phonetic Alphabet) เป็นครั้งแรกของโลกและได้พระราชทานเป็นพระธัมมทานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ากรุงสยาม แก่สถาบันสำคัญนานาชาติทั่วโลก (ดูภาพ chartflow ข้อ 1)

(ดู ฉบับ จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 อนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2552

1.2. การพิมพ์เนื้อหาพระไตรปิฎก
       การพิมพ์เนื้อหาในพระไตรปิฎกสากล อ้างอิงการพิมพ์เนื้อหาพระไตรปิฎกจากการประชุมสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในโลก มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้จัดพิมพ์ข้อมูลทั้ง 2 ประการเป็นฉบับ ปาฬิภาสา-อักขะระโรมัน สำเร็จเป็นชุดสมบูรณ์ 40 เล่ม ชุดแรกของโลก พ.ศ. 2548 (ดูภาพ chartflow ข้อ 2)

(ดู นวัตกรรมพระไตรปิฎก-อักขะระโรมัน)

1.3. อักขะระโรมัน
       การพิมพ์ปาฬิภาสา เป็น อักขะระโรมัน ที่สมบูรณ์ในข้อ 1 ได้มีการเผยแผ่เพื่อตรวจสอบในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน (ดูรายนามสถาบันที่ได้รับพระไตรปิฎกสากล) และได้รับการยอมรับว่าเป็นฉบับอักขะระโรมันที่สมบูรณ์ชุดแรกของโลก ปัจจุบันมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้มอบข้อมูลพระไตรปิฎกสากล อักขะระโรมันเป็นพระธัมมทานให้จัดทำเป็นระบบดิจิทัลเผยแผ่ที่ suttacentral.net (ดูภาพ chartflow ข้อ 3)

(รายละเอียด ปาฬิภาสา-อักขะระโรมัน)

 

1.4. การถอดเสียงปาฬิ
       ฉบับอักขะระโรมันในข้อ 1.2 ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเป็น การถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Transcription) พิมพ์ด้วย สัททะอักขะระ-ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Alphabet) เพื่อให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้นโดยโครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดพิมพ์เป็น ฉบับสัททะอักขะระ-ปาฬิ (Pāḷi Phonetic Alphabet Edition) ซึ่งเป็นการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกของโลกเช่นกัน เรียกเป็นทางการว่า ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 ชุด  40 เล่ม (Sajjhāya Phonetic Tipiṭaka Edition 2016, 40 Vols.) (ดูภาพ chartflow ข้อ 6 และ ข้อ 7)

(ดู ฉบับสัททะอักขะระ-ปาฬิ ชุด ภ.ป.ร. 40 เล่ม)

1.5. สัททะอักขะระ
       หลักการถอดเสียงปาฬิเป็น สัททะอักขะระ ในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์ (ดูภาพ chartflow ข้อ 6

(ดู ละหุคะรุ อักขะระ-ปาฬิ)

 

1.6. สูตรสกัดคณิตศาสตร์
       การพิสูจน์ความแม่นยำทางคณิตศาสตร์ในการถอดเสียงปาฬิเป็น อักขะระสยาม และ สัททะอักขะระ ที่มีความเป็นเอกภาพและสามารถตรวจสอบในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ และตรงตามสิทธิบัตรของมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล Patent No. 46390 (ดูภาพ chartflow ข้อ 9 และข้อ 10)

(ดู สูตรสกัดคณิตศาสตร์)

 

1.7. โน้ตเสียงปาฬิ 
       พระไตรปิฎกสากล ฉบับ โน้ตเสียงปาฬิ (Pāḷi Notation) ในทางดุริยางศาสตร์เป็นนวัตกรรมการบันทึกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกสากลเพื่อเขียนจังหวะละหุคะรุให้ละเอียดยิ่งขึ้น และเขียนด้วยโน้ตเสียงเส้นเดี่ยว (Single-Staff Music Notation) เพื่อแสดงเสียงปาฬิที่เป็นเสียงสามัญที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ (ดูภาพ chartflow ข้อ 7) เรียกเป็นทางการว่า ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 ชุด ส.ก. ชุด 40 เล่ม (Sajjhāya Tipiṭaka Pāḷi Notation 2016, 40 Vols.)


 

(ดู  ฉบับโน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. 40 เล่ม )

 

1.8. สรุปหลักการสำคัญของฉบับสัชฌายะ
       พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักขะระสยาม  พ.ศ. 2436 ได้มอบแก่สถาบันนานาชาติทั่วโลก รวมทั้งสถาบันในเกาะฮ่องกง เมื่อศตวรรษที่แล้ว (ดูเอกสารสำนักหอสมุดแห่งชาติไทย)

       พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) และชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) ในปัจจุบัน ได้อ้างอิงฉบับ จ.ป.ร. ข้างต้น โดยได้อ้างอิงการเขียนเสียงปาฬิในฉบับ จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ในอดีต โดยพัฒนาเป็น ฉบับสัททะอักขะระ ในชุด ภ.ป.ร. พ.ศ. 2559

       ฉบับโน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. พ.ศ. 2559 ได้พัฒนาอ้างอิงจากฉบับสัททะอักขะระในชุด ภ.ป.ร. 

 

2. หลักฐานอ้างอิงการทำงาน

2.1. การอนุรักษ์ดิจิทัล
โครงการพระไตรปิฎกสากลได้ทำการอนุรักษ์ โดยบันทึกภาพดิจิทัลพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ชุด 39 เล่ม ประมาณ 15,000 หน้า เป็นฐานข้อมูลอักขะระสยามดิจิทัล

(ดู ภาพดิจิทัลพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักขะระสยาม)

 

2.2. การตรวจทาน
       การอ้างอิงการตรวจทานพระไตรปิฎกอักขะระของชาติต่างๆ ที่สำคัญของโลก 15 ชุดอักขะระ พบว่ามีข้อแตกต่างในการพิมพ์ เรียกว่า คำต่าง (Variant Readings) จัดพิมพ์เป็น พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงสากล (World Tipiṭaka Studies Reference) เป็นชุดหนังสือ 6 เล่มในชุด 40 เล่ม

(ดู พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงสากล)

 

2.3. ฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล
       การจัดทำฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล และ การตรวจทานอัตโนมัติ (Automated Pāḷi Unit Testing) ในระดับหน่วยซอร์สโค้ดทำให้สามารถยืนยันได้ว่าการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล มีความถูกต้องแม่นตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปัจจุบัน

(ดู Unit Test ของการแบ่งพยางค์และกฎไวยากรณ์เสียงปาฬิ​ จากฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล)

 

2.4. การพระราชทาน ฉบับ จ.ป.ร. พ.ศ. 2436
       การพระราชทาน ฉบับ จ.ป.ร. แก่สถาบันการศึกษาในเกาะฮ่องกงในอดีต

(ดู เอกสารสำนักหอสมุดแห่งชาติไทย)

 

2.5. การเผยแผ่ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2562
       มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลจะทำการเผยแผ่ชุด ภ.ป.ร. และชุด ส.ก. แก่สถาบันนานาชาติทั่วโลกใน พ.ศ. 2562 เป็นการเผยแผ่ตามรอยประวัติศาสตร์การมอบพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ในอดีต

(ดู รายละเอียด การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล)

2.6. นวัตกรรมการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรก
       ฉบับสัชฌายะ ซึ่งมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลในประเทศไทยเป็นผู้จัดพิมพ์ จึงเป็นการอนุรักษ์เสียงปาฬิในพระไตรปิฎก อันเป็นวัฒนธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ โดยอ้างอิงกับพระไตรปิฎกฉบับ จ.ป.ร. ชุดแรกของโลก ซึ่งยังมิได้มีองค์กรใดจัดพิมพ์มาก่อนในโลก

ภาพโดยพระบรมราชานุญาต

(ดู อักขะระสยาม-ปาฬิ / สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ)

2.7. น้อมเกล้าฯ ถวายฉบับปฐมฤกษ์
       มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดปฐมฤกษ์ แด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ภาพโดยพระบรมราชานุญาต

(ดู รายละเอียดการเข้าเฝ้าฯ)

 

2.8. โปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นพระธัมมทาน
       พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล จัดพระราชทานแด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561 และองค์กรต่างๆ ที่เหมาะสม ได้แก่ ราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีราชบัณฑิตสาขาต่างๆ เป็นที่ปรึกษา และกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้จดทะเบียนสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในพระไตรปิฎกเป็นทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย

ภาพโดยพระบรมราชานุญาต

(ดู รายละเอียดการพระราชทานฉบับสัชฌายะ)

3. ทรัพย์สินทางปัญญาพระไตรปิฎกสากล 

3.1. ลิขสิทธิ์ : การจัดพิมพ์หนังสือและเผยแผ่ โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (ดูภาพ flowchart ข้อ 10)

3.2. สิทธิบัตร : โปรแกรมการแบ่งพยางค์ปาฬิอัตโนมัติ เลขที่ 46390 โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (ดูภาพ flowchart ข้อ 10)

(ดู สิทธิบัตรการแบ่งพยางค์ปาฬิอัตโนมัติ เลขที่ 46390)

 

 

4. โครงการพระไตรปิฎกสัชฌายะ
    (ดู www.sajjhaya.org )