ปาฬิ-พินอิน

ปาฬิ-พินอิน 

ปัจจุบันโครงการพระไตรปิฎกสากลสามารถสร้างพระไตรปิฎกสากลสำหรับชาวจีน ที่เรียกว่า ฉบับปาฬิ-พินอิน เพราะเหตุใด ?

เพราะสามารถทำการปริวรรตอักษรเสียงปาฬิ ด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ และความรู้ในทางภาษาศาสตร์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. พระไตรปิฎกสากล
    
The World Tipiṭaka Edition

ปัจจุบันมีการศึกษาการถอดเสียงปาฬิแพร่หลายเป็นสากล ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนจากการศึกษาพระไตรปิฎกในด้านศาสนาและภาษาโบราณ เปิดเป็นมิติใหม่ในการศึกษาด้านวัฒนธรรมและสหวิชาการ

พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548

ในอดีต เสียงปาฬิ หรือ ปาฬิภาสา (Pāḷi หรือ Pāḷi Bhāsā คนไทยเรียกกันว่า ภาษาบาลี) บันทึกด้วยอักษรโบราณของชาติต่างๆ เช่น อักษรสิงหฬ อักษรขอม และอักษรสยาม โดยมุ่งเน้นศึกษากันแต่ในหมู่สงฆ์และนักวิชาการด้านภาษาโบราณ ดังนั้นการศึกษาปาฬิภาสาจึงจำกัดอยู่ในวงการศาสนาและวิชาการ 

ส่วนประชาชนทั่วไปที่มิได้ศึกษาไวยากรณ์ปาฬิในพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง ก็มักออกเสียงสวดปาฬิตามประเพณีที่ฟังตามๆ กันมาแต่โบราณ ซึ่งมักมีปัญหาของการออกเสียงปาฬิที่ผิดเพี้ยนไป ได้แก่การเอาเสียงในภาษาท้องถิ่นไปปนแทรกกับเสียงปาฬิดั้งเดิมในพระไตรปิฎก เช่น เสียงปาฬิดั้งเดิมว่า [บะ] เพราะมีลักษณะเสียงไม่พ่นลม ว่า [บุด] แต่คนไทยกลับออกเสียงมีลักษณะพ่นลมในภาษาไทยว่า [พุท] คือ ออกเสียงว่า [พะ] ส่วน  [ดะ] ออกเสียงพ่นลมในภาษาไทย ว่า [ทะ] เป็นต้น ปัญหานี้ในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์เรียกว่า การแทรกแซงทางเสียง (Linguistic Interference) ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ประชาชนทั่วไปออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกไม่แม่นตรงกับกฎไวยากรณ์มาเป็นเวลาช้านาน 

พ.ศ. 2548 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน (World Tipiṭaka in Roman-Script Edition) สำเร็จในประเทศไทยเป็นชุดสมบูรณ์ชุดแรก โดยอ้างอิงกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งตีพิมพ์เป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎกชุดแรกของโลก และต่อมา พ.ศ. 2554 โครงการพระไตรปิฎกสากลก็ได้ทำการอนุรักษ์ต้นฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยามดังกล่าว โดยจัดพิมพ์เป็นฉบับ จ.ป.ร. อนุรักษ์ดิจิทัลขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการศึกษาอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ กว้างขวางขึ้น เพราะเป็นพื้นฐานของการศึกษาเสียงปาฬิในด้านวิชาการภาษาศาสตร์ที่ล้ำยุคและเป็นสากล เช่น พบว่า อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ มีทั้งระบบการถอดอักขะระแบบกว้างๆ (Transliteration) เช่น การถอดเสียงจากจุดกำเนิดเสียงภายในคอไล่ออกมาตามลำดับจนถึงริมฝีปาก / k,  จ / c,  ฏ / , ต / t, ป / p และ การถอดเสียงปาฬิอย่างละเอียด (Pāli Phonetic Trascription) เช่น [บะ] / [ba] , [ดะ] / [da]  ซึ่งเป็นการถอดเสียงปาฬิเทียบกับปาฬิภาสา-อักษรโรมัน ที่ชาวโลกสามารถอ่านออกเสียงได้ในระดับสากลนานาชาติ 

พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436

นอกจากนี้อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ยังมีนวัตกรรมการเขียนเสียงสะกดและเสียงกล้ำ ด้วย สัททสัญลักษณ์ คือการใช้สัญลักษณ์แสดงการแบ่งพยางค์ระหว่างเสียงสะกด เช่น ท์ ในคำว่า พุท์ธํ (ไม้วัญฌการ, ) กับเสียงกล้ำ ในคำว่า ตุเม (ไม้ยามักการ,  ) ซึ่งทำให้คนทั่วโลกสามารถออกเสียงปาฬิได้แม่นตรงกับไวยากรณ์ยิ่งขึ้น แม้มิได้ศึกษาไวยากรณ์มาก่อน โดยเฉพาะปัจจุบันมีชาวตะวันตกต้องออกเสียงปาฬิในการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อพบระบบการพิมพ์อักษรโรมันว่า bud-dʰaŋํ  ก็สามารถออกเสียงพ่นลมได้ และก็ย่อมตระหนักว่าพยางค์สุดท้ายเป็นเสียงนาสิกพิเศษ ŋ ซึ่งเป็นเสียงนิคคะหิต (อํ) ที่ก้องในจมูก โดยสังเกตเครื่องหมายนิคคะหิตที่กำกับ IPA - ŋ นอกจากนี้การพิมพ์โดยแบ่งพยางค์ในพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ว่า  tu-mhe  ยังทำให้ชาวโลกผู้รู้อักษรโรมันสามารถแบ่งพยางค์เสียงกล้ำได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดปัญหาการแทรกแซงทางเสียงเหมือนการออกเสียงจาก อักขรวิธีพินทุบอด  ตุมฺเห เป็น ตุม-เห  ซึ่งเดิมอักขรวิธีสยาม-ปาฬิ เขียนว่า  ตุเม สังเกตว่า /มห/ เป็นเสียงกล้ำที่ไม่มีสระใดมาคั่น) ซึ่งปัจจุบันเข้าใจผิดกลายเป็นเขียนว่า  ตุมฺเห  โดยนำสระเอ มาคั่นเสียงกล้ำ /มห/ ทำให้อ่านเป็น [ตุม-เห]  

สรุป การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย ได้แก่ ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 และ ฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนทั่วโลกรู้จักเสียงปาฬิที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการในพระไตรปิฎก

2. สัททะอักขะระ-ปาฬิ
    
Pāḷi Phonetic Alphabet

มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ปาฬิภาสา ซึ่งเป็นการบูรณาการทางวิชาการสู่วิทยาการด้านสัททศาสตร์ หรือ สัททะอักขะระ-ปาฬิ ในระดับนานาชาติ

สังเกต IPA ไม่สามารถแสดงเสียงละหุคะรุได้ (ดู อักขรวิธีวิจินตน์)

การศึกษาที่เป็นสากล โดยเฉพาะการถอดเสียงปาฬิภาสา เป็น อักษรโรมัน หรือ อักขะระโรมัน-ปาฬิ ทำให้เกิดการถอดเสียงปาฬิภาสา เป็น สัททอักษรสากล (International Phonetic Alphabet, IPA) ด้วย ซึ่งต่อมาโครงการพระไตรปิฎกสากลได้ปรับปรุงชุด IPA ดังกล่าว เพื่อจัดพิมพ์สำหรับปาฬิภาสา อักษรโรมัน เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2548 และ ได้ปรับปรุงใหม่ให้ละเอียดยิ่งขึ้น พ.ศ. 2562 โดยจัดพิมพ์และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศไทยประสานการจัดนิทรรศการพิเศษ ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน พ.ศ. 2562-2563 ด้วย 

การมุ่งเน้นการศึกษาการถอดเสียงปาฬินี้ทำให้เกิดการเขียนเสียงปาฬิที่ละเอียดและแม่นตรงตามหลักพระธัมมวินัย ได้แก่  เรื่อง พยัญชนะกุสะละ 10 และไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ เรื่อง การแบ่งพยางค์ของเสียงกล้ำ เป็นต้น

ตัวอย่างสำคัญ คือ เสียงพ่นลม และเสียงไม่พ่นลม ที่ระบุในพระวินัยปิฎก ปัจจุบันสามารถแสดงผลการพิมพ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เสียงพ่นลม แสดงวิธีการพิมพ์ทางวิชาการภาษาศาสตร์ ด้วยการยกอักษร ʰ เช่น [bud-dʰa] และนำเสนอด้วยสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ ชุดใหม่ เช่น พ-ปาฬิ นำเสนอด้วย [บ] ในคำว่า [บุด-ธะ] เป็นต้น

นอกจากนี้ เนื่องจาก IPA ไม่สามารถเขียนเสียงละหุ และเสียงคะรุ ในตำแหน่งที่ไวยากรณ์ระบุเป็นพิเศษได้ ดังนั้นโครงการพระไตรปิฎกสากลจึงริ่เริ่มการพิมพ์ชุดสัททะอักขะระขึ้นอีกชุดหนึ่ง เรียกว่า สัททะอักขะระโรมัน-ปาฬิ เพื่อเขียน เสียงละหุ (เสียงเร็ว) เสียงคะรุ (เสียงลากนานขึ้น) ปัจจุบันสามารถถอดเสียงเขียนด้วย สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ และจัดพิมพ์ได้สำเร็จเป็นชุดพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก โดยได้รับสิทธิบัตรโปรแกรมการแบ่งพยางค์ เลขที่ 46390 เรียกพระไตรปิฎกสากลชุดนี้ว่า ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 (Sajjhāya Phonetic Edition 2015) ซึ่งจัดพิมพ์โดยโครงการพระไตรปิฎกสากล

สรุป การริเริ่มศึกษาสัททะอักขะระปาฬิในทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์เปิดมิติใหม่ให้นักวิชาการในระดับนานาชาติเข้ามาตรวจสอบความแม่นยำในการถอดเสียงปาฬิในทางภาษาศาสตร์ และบูรณาการสู่การศึกษาด้านสหวิชาการให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

3. เสียงสัชฌายะปาฬิดิจิทัล
    Digital Pāḷi Recitation Sound

มีการเปลี่ยนผ่านจากการเขียนเสียงปาฬิในสื่อหนังสือสู่การบันทึกเสียงปาฬิในสื่อดิจิทัลที่เป็นมาตรฐานเป็นครั้งแรก

เดิมเสียงปาฬิบันทึกด้วยระบบอักษรชุดต่างๆ ซึ่งทำให้ต้องอาศัยการศึกษาในด้านภาษาโบราณโดยเฉพาะ และต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาวิธีเขียนอักขะระต่างๆ เป็นเวลานาน และจำกัดอยู่ในสื่อหนังสือ แต่ปัจจุบันเมื่อสามารถบันทึกเสียงปาฬิด้วยสัญลักษณ์ เป็นสัททะอักขะระต่างๆ ในระบบดิทัลได้ เช่น การสร้างนวัตกรรมโน้ตเสียงปาฬิ ที่เขียนเสียงละหุ ด้วยโน้ตหัวดำ-หนึ่งมาตรา และเสียงคะรุ ด้วยโน้ตหัวขาว-สองมาตรา ในทางดุริยางคศาสตร์ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น พ.ศ. 2562 และมีการเผยแผ่ไปในประเทศต่างๆ จึงทำให้ประชาชนทั่วโลกที่แม้มิใช่ชาวพุทธ แต่หากมีพื้นฐานการศึกษาโน้ตดนตรีสากลในทางดุริยางคศาสตร์ ย่อมสามารถอ่านพระไตรปิฎกทั้งชุด 40 เล่ม พร้อมทั้งฟังเสียงดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า พระไตรปิฎกโน้ตเสียงปาฬิ และ เสียงสัชฌายะดิจิทัล พ.ศ. 2559

ความรู้ในการแบ่งพยางค์ และตำแหน่งการเรียงพิมพ์คำต่างๆ ในฐานข้อมูลพระไตรปิฎกดิจิทัลทั้งชุด ทำให้สามารถบันทึกการออกเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกได้ต่อเนื่องกันได้ตั้งแต่ต้นจนจบทั้ง 40 เล่ม ซึ่งยังไม่มีผู้ได้ทำมาก่อน ระบบเทคโนโลยีการบันทึกเสียงสัชฌายะดิจิทัลนี้ทำให้เกิดเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบกับระบบการพิมพ์อักษรของชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในหมู่นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งศึกษาเสียงในรูปแบบของคลื่นเสียงในระบบดิจิทัล เพราะว่าสามารถสืบค้นและเรียกข้อมูลจากส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎกเพื่อฟังเสียงปาฬิในแต่ละคำได้อย่างรวดเร็ว

สรุป เสียงสัชฌายะดิจิทัลจึงเป็นต้นแบบในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับอนุรักษ์คลังเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกเพื่อพัฒนาการทางเทคโนโลยีในอนาคต

4. พระไตรปิฎก ปาฬิ-พินอิน
    Pāḷi Pinyin 

มีการจัดทำพระไตรปิฎกสากล เป็น ฉบับสัชฌายะ ชุด ปาฬิ-พินอิน ชุดสมบูรณ์ ชุด 40 เล่ม

พัฒนาการการสร้างพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ด้วยสัททะอักขะระข้างต้น ทำให้เกิดองค์ความรู้ในการเขียนเสียงปาฬิ ด้วยอักขะระของชาติต่างๆ ซึ่งไม่เคยมีวัฒนธรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา เช่น จีน ดังนั้นเมื่อมีการสร้างชุดอักษรพินอินของจีน ให้มีเสียงพยัญชนะและสระครบถ้วนและตรงกับเสียงปาฬิของพยัญชนะและสระในพระไตรปิฎกทั้ง 41 เสียง จึงทำให้เกิดพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ซึ่งพิมพ์เสียงปาฬิด้วยสัททะอักขะระของจีน เป็นครั้งแรก

โครงการพระไตรปิฎกสากลได้ร่วมมือสร้าง สัททะอักขะระพินอิน-ปาฬิ กับ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาจีนจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี พ.ศ. 2562

ชุด ปาฬิพินอินของจีน (Pāḷi Pinyin-Script) ที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับเสียงสัชฌายะดิจิทัลในข้อ 3 จึงทำให้สามารถตรวจสอบความแม่นตรงของการเขียนเสียงปาฬิในฉบับพินอิน (World Tipiṭaka in Pinyin-Script) และฉบับรัสเซีย (World Tipiṭaka in Russian Phonetic Aphabet) ได้ในทางวิชาการ และเป็นระบบการเขียนที่ได้รับการตรวจสอบในทางวิชาการจากนักวิชาการทั้งชาวจีนและชาวรัสเซีย เช่น การเขียนเสียงละหุและเสียงคะรุ ในปาฬิพินอิน โดยเสียงละหุแสดงผลทางดิจิทัล ด้วยสีเบาโปร่ง และเสียงคะรุ ด้วยสีเข้มทึบ ซึ่ง ชุด IPA ไม่สามารถเขียนเสียงปาฬิในรายละเอียดปลีกย่อยตามไวยากรณ์พยัญชะนะกุสะละนี้ได้ กล่าวคือ สระสั้น สามารถออกเสียงลากยาว เป็นเสียงคะรุได้ โดยไม่เปลี่ยนฐานสระสั้น เป็นสระยาว เช่น

ตัวอย่างนี้ เป็นการส่งเสริมการออกเสียงปาฬิให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพยางค์ต้นบท และพยางค์ท้ายบท ซึ่งมีหลักการอธิบายเสียงคะรุนี้ว่า ปาทันตะคะรุ ในไวยากรณ์วุตโตทัย ข้อ 7 เป็นต้น

นอกจากนี้การสังเคราะห์เสียงสัชฌายะดิจิทัลลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า สัชฌายะสมาร์ทโฟน (Sajjhāya Smart Phone) ซึ่งสามารถแสดงผลด้วยสัททะอักขะระในระบบดิจิทัลของ ปาฬิ-พินอิน พร้อมทั้งโน้ตเสียงปาฬิกำกับจังหวะของแต่ละพยางค์ ทำให้เกิดมาตรฐานที่สมบูรณ์ทั้งภาพและเสียงในการศึกษาและพัฒนาการเขียนเสียงในพระไตรปิฎกปาฬิ

 

หอสมุดฮ่องกง (ขีดเส้นแดง)

 

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2534 นายหยาง ช่างคุน ประธานาธิบดีจีน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระคัมภีร์แห่งศาสนาพุทธ "ต้าจ้างจิง" ฉบับพระเจ้าเฉียนหลง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ระหว่างการเยือนราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการ

 

20 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ปีที่ 20 ในการดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากล
 

ผู้ทรงสิทธิ์ สัททะอักขะระพินอิน-ปาฬิ
มอบสิทธิประโยชน์ให้มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

ขั้นตอนในการสร้างสรรค์ และผู้มีส่วนในการดำเนินงาน

1. การอ้างอิงพระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม
    โปรดให้จัดพิมพ์โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2436

จัดพิมพ์อักขรวิธีสยาม-ปาฬิ ตามเนื้อหาสังคายนานานาชาติ เป็นฉบับสากล อักษรโรมัน
  โดย อ.สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9 
   ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2548

2. ถอดเสียงปาฬิ เป็นสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ และ International Phonetic Alphabet (IPA)  
    โดย อ.สิริ  เพ็ชรไชย ป.ธ.9, 
     ศ.กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์  (Ph.D., Linguistics, London),
     พ.อ. (พิเศษ) สุรธัช  บุนนาค (Patent 46390)
     โครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2554

3. ​สร้างสรรค์โน้ตเสียงปาฬิ
    โดย รศ.ดร.ศศี พงศ์สรายุทธ
     คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2557-2558

4. ควบคุมการออกเสียงสัชฌายะและบันทึกในระบบดิจิทัล
    โดย ศ.ดวงใจ ทิวทอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2558-2559

5. ให้เสียงสัชฌายะตามการแบ่งพยางค์สิทธิบัตร เลขที่ 46390
    โดย พ.อ. (พิเศษ) สุรธัช บุนนาค (ผู้สร้างสรรค์สิทธิบัตร) และคณะ พ.ศ. 2557

6. สร้างฐานข้อมูลเสียงสัชฌายะ AI
    โดย ปิยะพงศ์ รักพงษ์ไทย (ผู้ร่วมสร้างสรรค์สิทธิบัตร) และคณะ พ.ศ. 2559

7. ตรวจสอบตารางการถอดเสียงปาฬิ
    โดย ศ. (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังสี (Ph.D., Linguistics, Copenhagen)
     อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2562

8. ถอดเสียงสัททะอักขะระไทย-ปาฬิ เป็น สัททะอักขะระพินอิน-ปาฬิ 
    โดย ดร.กวิชช์ ธรรมิศร
    ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2562

9. ตรวจสอบสัททะอักขะระปาฬิ-พินอิน
    โดย ผศ.ดร.ภูริวรรณ วรานุสาสน์
     ดร.ชนัญญา พวงทอง (Ph.D., Linguistics, Bejing)
     ภาควิชาภาษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยนเรศวร  พ.ศ. 2562

10. สร้างระบบรักษาความปลอดภัย และบรรจุลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
      โดย ผศ.ดร. สุชาติ แย้มเม่น
       ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
       พีระ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2562 

  11. เผยแผ่พระไตรปิฎกสากล เสียงสัชฌายะดิจิทัล
     โดย ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา
      ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2562

Pali Pinyin-Sajjhaya Vol.01 by worldtipitaka on Scribd