กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602
กฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602
ทุ-ม๎หิ ครุ แปลความได้ดังนี้
สุตตะ เป็นเสียงคะรุ ในเพราะอักขะระ (สัญโญคะ) 2 ตัว
วุตติ ในเพราะอักขะระสัญโญคะ 2 ตัว อักขะระตัวใดอยู่หน้า พึงทราบว่าอักขะระนั้นเป็น เสียงคะรุ
อุทาหรณ์ ทั-ต๎วา กั-ต๎วา ฉิ-ต๎วา หิ-ต๎วา หุ-ต๎วา ภุ-ต๎วา
กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602 พิมพ์ อักขะระสยาม-ปาฬิ / สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ
จากคำแปลตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ นี้ สรุปได้ความว่า พยางค์รัสสะสระ คือ พยางค์ที่มีพยัญชนะเดี่ยวประกอบด้วยสระ อะ อิ อุ ที่อยู่หน้าพยางค์เสียงกล้ำ เป็นเสียงคะรุ ออกเสียง 2 มาตรา
ทั้งนี้ ในพระไตรปิฎก ฉบับ จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 ได้แสดงสัททสัญลักษณ์ไม้วัญฌการ [ ์ ] แสดงเสียงสะกด และไม้ยามักการ [ ๎] แสดงเสียงกล้ำไว้แยกกัน โดย 1 สัททสัญลักษณ์ ทำหน้าที่เพียง 1 หน้าที่เท่านั้น เมื่อเทียบกับไวยากรณ์แล้วไม่คลุมเครือในการออกเสียง ทั้งจากการตรวจเทียบเคียงด้วยอักขรวิธีอื่นก็มีความแม่นตรงจึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า เสียงสะกดและเสียงกล้ำแยกจากกันชัดเจนเด็ดขาด โดยที่พยางค์สะกดไม่เคลื่อนเป็นเสียงกล้ำ และพยางค์เสียงกล้ำไม่เคลื่อนไปเป็นตัวสะกด เหมือนที่คุ้นเคยกัน
กัจจายะนะปาฬิ ข้อ 602 พิมพ์ อักขะระสยาม-ปาฬิ / อักขะระโรมัน-ปาฬิ
คัมภีร์กัจจายะนะ-ปาฬิ เข้าใจกันว่ารจนาโดยพระกัจจายะนะเถระ เมื่อ พ.ศ. 1 ถึง พ.ศ. 600 โดยประมาณ ไม่มีหลักฐานแน่นอน มีแต่คัมภีร์กัจจายะนะที่คัดลอกสืบต่อกันมาในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านปาฬิภาสารุ่นหลังเห็นคัมภีร์กัจจายะนะ-ปาฬิว่ามีเนื้อหาค่อนข้างยาก ทั้งมีคำอธิบายเพียงเล็กน้อยจึงได้แต่งคัมภีร์อธิบายขยายความมากมายนับร้อยคัมภีร์ ต่อมาในแดนล้านนาได้นำมาศึกษาและเรียบเรียงขึ้นใหม่รู้จักกันว่า มูละกัจจายะนะ และเป็นหลักสูตรเรียนมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าเป็นการศึกษาลำบากเพราะมีเนื้อหาพิสดารจึงทรงจัดระเบียบใหม่และเรียบเรียงไวยากรณ์เล็กอย่างย่อขึ้นมาใช้แทน แล้วยกเลิกการศึกษาคัมภีร์สัททาวิเสสตั้งแต่นั้น
การเขียนเสียงปาฬิ ในพระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช (จ.ป.ร.) อักขะระสยาม พ.ศ. 2436 ด้วย การถอดอักขะระ (Transliteration) และ การถอดเสียง (Transcription) เป็นวิธีการบันทึกพระไตรปิฎกที่มีประสิทธิภาพสูงในทางนิรุกติศาสตร์ เพราะสามารถป้องกันมิให้การออกเสียงและความหมายของเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกเปลี่ยนไปจากเดิม ตามที่ได้อนุรักษ์สืบทอดมาตั้งแต่ปฐมมหาสังคายนา พ.ศ. 1 อักขะระสยาม-ปาฬิ เป็นการนําเสนอการเขียนเสียงปาฬิด้วยสัททสัญลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า อักขรวิธี ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ ซึ่งเป็นระบบการเขียนที่แยกแยะ เสียงอะ (เสียงไม่สะกด) เสียงสะกด และ เสียงกล้ำ ออกจากกันอย่างชัดเจนตามกฎไวยากรณ์ในกัจจายะนะ-ปาฬิ กล่าวคือ เครื่องหมาย ไม้-อั [ ั ] แสดงเสียง สระ-อะ, เครื่องหมาย ไม้วัญฌการ [ ์ ] แสดงเสียงสะกด และเครื่องหมาย ไม้ยามักการ [ ๎] แสดงเสียงกล้ำ ปัจจุบันเรียกว่า อักขรวิธี ไม้อะ อักขะระสยาม-ปาฬิ เช่น สั-ก๎ยปุต์โต
เสียงกล้ำ อักขะระสยาม-ปาฬิ ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. พ.ศ. 2436 เขียนว่า ตั-ส๎มา (ปัจจุบันรูปเขียนเป็น ตสฺมา) เป็นคำที่มีเป็นจำนวนมาก เมื่อยกขึ้นสวดมักได้ยินออกเสียงกันว่า (ตัส-สะ-หมา) ซึ่งออกเสียง เสียงสะกด ต่อเนื่องเป็น เสียงกล้ำ แม้คำเสียงกล้ำอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ตุ-เม๎ห (ตุ-มเห) เขียนด้วยอักขรวิธีพินทุ ว่า ตุมฺเห ทำให้เข้าใจผิดอ่านออกเสียงจากพยางค์เสียงกล้ำกลายเป็นพยางค์เสียงสะกดไป (ตุม-มเห) เป็นต้น (ดู บทความเสียงสะกด และเสียงกล้ำ ในปาฬิภาสา) แต่เมื่อผู้เขียนได้ศึกษารูปศัพท์เหล่านี้จากคัมภีร์ไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ โดยเฉพาะ กฎข้อที่ 602 พบว่า พยัญชนะเสีียงกล้ำ จะปรากฏอยู่หลังสระเสียงสั้นของพยางค์หลังเสมอ กล่าวคือ พยางค์หลังจะออกเป็นเสียงกล้ำเท่านั้น ไม่ออกเป็นเสียงสะกดและต่อเนื่องเป็นเสียงกล้ำ
กัจจายะนะ-ปาฬิ อักขะระสยาม-ปาฬิ/สัททะอักขะระไทย-ปาฬิ by Dhamma Society on Scribd