สูตรสกัดชิดชนก : การตัดพยางค์ปาฬิอัตโนมัติ

กฎการตัดพยางค์คําที่เขียนด้วยอักขะระสยาม-ปาฬิ เพื่อการอ่านออกเสียงโดยอัตโนมัติ

โดย
ศาสตราจารย์ ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และ
สํานักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

บทคัดย่อ

อักขะระสยาม-ปาฬิ เป็นอักขะระที่ใช้กํากับวิธีการออกเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นภาษาสําหรับบันทึกคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก เมื่อ พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้มีการกําหนดอักขะระชุดนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถอ่านออกเสียงปาฬิได้ถูกต้องตรงกับเสียงปาฬิเดิม คําแต่ละคําประกอบด้วยกลุ่มของพยางค์ซึ่งมีความสําคัญต่อการอ่านออกเสียง ดังนั้นก่อนการอ่านคําที่เขียนด้วยอักขะระสยาม-ปาฬิ จึงจําเป็นต้องตัดกลุ่มอักขะระสยาม-ปาฬิ ในคํานั้นให้ตรงกับพยางค์ที่ถูกต้อง คําปาฬิสามารถอ่านออกเสียงแบบ ละหุ คะรุ และกล้ำตัว อักขะระ

ในบทความนี้เราเสนอกฎการตัดพยางค์จากคําที่เขียนด้วยอักขะระสยาม-ปาฬิ พร้อมทั้งระบุว่าต้องอ่านแบบละหุ คะรุ หรือกล้ำตัวอักขะระและพบว่ากฎที่สกัดได้ทั้งหมดมีจํานวน 61 กฎ กฎที่สกัดได้สามารถนําไปใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้อักขะระสยาม-ปาฬิ ในการกํากับการอ่านออกเสียงปาฬิของคําในพระไตรปิฎก พยางค์ที่ตัดโดยใช้กฎเหล่านี้สามารถนําไปแปลงเป็นเสียงอ่านในขบวนการสังเคราะห์เสียงอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทําให้เสียงอ่านไม่ผิดเพี้ยนอีกต่อไป

เสวนาเรื่อง "การกลับมาของเสียงพระพุทธเจ้า"
วันที่ 21 สิงหาคม ณ โรงภาพยนต์พารากอน


สูตรสกัดชิดชนกเป็นข้อมูลสำคัญในการแบ่งพยางค์
สร้างเป็นพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ  ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก.