3. การถอดอักษรปาฬิ

3. การถอดอักษรปาฬิ
    (Pāḷi Transliteration) 

ลำดับชื่อตอนของโน้ตเสียงปาฬิจัดพิมพ์ด้วยการถอดอักษรในทางภาษาศาสตร์ จากอักษรโบราณสู่ ปาฬิ-อักษรสยาม จัดพิมพ์คู่ขนานกับ ปาฬิ-อักษรโรมัน (ดูการถอดอักษร)

อักขรวิธีอักษรสยาม ลดรูป สระ-อะ ถอดอักษรเขียนว่า วินยปิฎก อ่านว่า [วิ-นะ-ยะ-ปิ-ฎะ-กะ] ส่วนอักษรโรมัน ถอดอักษรเขียน สระ-อะ ทุกพยางค์ ว่า vinayapiṭaka อ่านว่า [vi-na-ya-pi-ṭa-ka]

ต้นฉบับพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 

สังเกตว่า อักษรโรมัน ไม่มีเครื่องหมายแสดงพยางค์เสียงสะกด ซึ่งผู้ที่ไม่เคยศึกษาอักขรวิธีอักษรโรมัน จะไม่สามารถแบ่งพยางค์ได้ชัดเจน อ่านว่า [um-mat-ta-kas-sa] 

สังเกตว่า โครงการพระไตรปิฎกสากล สร้างสัททสัญลักษณ์ในอักษรโรมัน เรียกว่า Cluster-Sound Linkage ใต้ br และ hm ตามเครื่องหมาย ไม้ยามักการ ในอักษรสยาม เพื่อแบ่งพยางค์เสียงกล้ำให้ง่ายขึ้น

พระไตรปิฎกสากล ชุดการถอดอักษร
อักษรสยาม / อักษรโรมัน พ.ศ. 2563

 

พระไตรปิฎกสากล ชุดการถอดอักษร
อักษรอื่นๆ 

การถอดอักษรในวัฒนธรรมการเขียนของบางประเทศไม่อาจรักษารูปเสียงปาฬิให้แม่นตรงตามไวยากรณ์ได้ เช่น อักษรโรมันไม่มีเครื่องหมายกำกับพยางค์เสียงสะกด ผู้อ่านต้องผ่านการศึกษาอักษรโรมัน จึงจะสามารถแบ่งพยางค์ได้ แต่การอ้างอิงการถอดอักษรสยามเป็นเรื่องง่ายเพราะเป็นฉบับที่มีนวัตกรรมการพิมพ์สัททสัญลักษณ์การแบ่งพยางค์เสียงสะกด ไม้วัญฌการ (ต์) และเสียงกล้ำ ไม้ยามักการ (ก๎ย) (ดูรูป สัก๎ยปุต์ตํ ด้านบน อ่านว่า สะ-กยะ-ปุต-ตัง) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกของโลก

ดูคำอธิบายย่อโน้ตเสียงปาฬิ 10 ข้อ
Quick Guide to Pāḷi Notation