8. โน้ตเสียงเตนูโต
8. โน้ตเสียงเตนูโต
(Tenuto Musical Symbol)
โน้ตเสียงเตนูโตหัวขาว 2 มาตรา แสดงเสียงสระสั้น ให้ลากนานขึ้น เป็นเสียงคะรุ หรือ โน้ตเสียงเตนูโตหัวดำ 1 มาตรา แสดงเสียงสระยาวที่มีตัวสะกด ให้ออกเสียงเร็ว เป็นเสียงละหุ ในตำแหน่งที่ไวยากรณ์ เรื่อง พยัญชนะกุสะละ ระบุไว้เป็นพิเศษในพระวินัยปิฎก
คำบางคำไวยากรณ์ระบุให้ออกเสียงพิเศษ เช่น สระเสียงยาว ต้องออกเสียงเร็ว เมื่อมีตัวสะกด เช่น เสฏ์ หรือ [seṭ] จะออกเสียงว่า [เส็ฏ] (ดูรูปด้านล่าง) ทำนองเดียวกับ สระเสียงสั้น ต้องออกนาน เมื่ออยู่ท้ายคำหรือท้ายบท เช่น ถิ หรือ [thi] ออกเสียงว่า [ถิ] (ดูรูปด้านล่าง) ต้องออกเสียงสระสั้นลากนานขึ้นเป็นเสียงคะรุ เป็นต้น นอกจากนี้ ในคำที่มีเสียงกล้ำ เสียงสระสั้นที่นำหน้า ต้องออกเป็นเสียงคะรุ หรือเสียงที่ลากยาวขึ้น ทั้งนี้เพื่อมิให้พยางค์หลังเคลื่อนไปปนแทรกและกลายเป็นเสียงสะกด เช่น กัต๎วา อ่านว่า [กะ-ตวา] แต่มักอ่านกันว่า กัต-ตวา ซึ่งไม่ตรงกับกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ข้อ 602 ว่า [กะ-ตวา] [ka-tvā] โดย [กะ] [ka] ออกเป็นเสียงคะรุที่ลากนานขึ้น สังเกตการพิมพ์สีเข้มทึบ
การนำเสนอเสียงปาฬิด้วยสัญลักษณ์โน้ตดนตรีสากล ทำให้ประชาชนทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ แม้ไม่รู้ไวยากรณ์เมื่ออ่านสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานทางเสียงที่เป็นสากลก็ย่อมออกเสียงแม่นตรงตามพระวินัยได้
ดูคำอธิบายย่อโน้ตเสียงปาฬิ 10 ข้อ
Quick Guide to Pāḷi Notation