10. สัททสัญลักษณ์ปาฬิ
10. สัททสัญลักษณ์ปาฬิ
(Pāḷi Phonetic Symbol)
ในตอนล่างของหน้ากระดาษ แสดงคำอธิบายเสียงพิเศษต่างๆ ของปาฬิภาสาด้วยสัททสัญลักษณ์ซึ่งสร้างสรรค์ใหม่จากการศึกษาวิจัยซึ่งสนับสนุนโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2557-2559
เสียงพิเศษในปาฬิภาสาที่เกิดจากลักษณะการออกเสียง เช่น เสียงก้องที่มีการออกเสียงไม่พ่นลม พ่นลม ขึ้นจมูก และลิ้นรัว แสดงด้วยสัททสัญลักษณ์ที่ปลายหางโน้ต (ดูรายละเอียด โน้ตเสียงปาฬิ ทั้ง 4 ชุด)
โน้ตเสียงปาฬิ เวอร์ชั่น 1
โน้ตเสียงปาฬิ เวอร์ชั่น 2
โน้ตเสียงปาฬิ เวอร์ชั่น 3
โน้ตเสียงปาฬิ เวอร์ชั่น 4
นวัตกรรมโน้ตเสียงสากลจึงเป็นการเปลี่ยนผ่านการศึกษาไวยากรณ์ปาฬิ ไปสู่สัญลักษณ์ทางเสียงที่เป็นสากลเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงจากสัททสัญลักษณ์ ซึ่งปัจจุบันสามารถเปลี่ยนผ่านต่อไปเป็นเสียงสัชฌายะดิจิทัลได้สำเร็จสมบูรณ์ทั้งชุดพระไตรปิฎกสากล ชุด 40 เล่ม หรือ ถ้าจัดพิมพ์เป็นโน้ตเสียงพระไตรปิฎกสากล จะมีจำนวน 250 เล่ม รวมเวลา 3,052 ชั่วโมง หรือความจุในฐานข้อมูลเสียง 1.6 เทราไบต์ ซึ่งสามารถสังเคราะห์เสียงลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น แท็บเล็ตสัชฌายะ (ดู รูปด้านบน)
ดูคำอธิบายย่อโน้ตเสียงปาฬิ 10 ข้อ
Quick Guide to Pāḷi Notation