จดหมายเหตุนิทรรศการพระไตรปิฎกสากล

Untitled-212

หอพระไตรปิฎกนานาชาติ

ภาพและวิดีทัศน์ชุดที่
พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๙ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน หอพระไตรปิฎกนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2543 โครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งดำเนินการโดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ได้มอบคลังพระไตรปิฎกนานาชาติเป็นธัมมบัณณาการแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งเป็น หอพระไตรปิฎกนานาชาติ ตั้งอยู่ ณ อาคารเก่าแก่ที่สุดของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันเรียกว่า อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิด และพระราชทานพระไตรปิฎกนานาชาติแก่อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8

 

Untitled-2

133716(1)

133592

4512_0449

4512_0437

นิทรรศการ จัดโดย The International Conference of the Association of Buddhist Studies XIII ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 ธันวาคม พ.ศ. 2545

กราฟิกสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ส่วนหนึ่งของกิจกรรมอนุรักษ์ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436 ในโครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549

 

Untitled-214

พระพี่นาง

120124

Royal Patron of Tipitaka

ภาพชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๔๘ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล ตำหนักใหญ่ ธนาคารแห่งประเทศไทย

สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เปิดนิทรรศการพิเศษ ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย 

และทรงฟังการปฐมนิเทศการเสด็จฯ ไปพระราชทานพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ชุดปฐมฤกษ์ แก่ ประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา 6 มีนาคม พ.ศ. 2548, ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันที่ 15 สิงหาคม และอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุปซาลา ราชอาณาจักรสวีเดน วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2548

ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนโครงการพระไตรปิฎกสากล ที่มีนโยบายในการสร้างมาตรฐานการจัดพิมพ์หนังสือ เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่สร้างมาตรฐานการพิมพ์ธนบัตรในระดับโลก ด้วยเหตนี้ กระดาษที่ใช้พิมพ์ จึงมีส่วนสำคัญในการเปิดตัวพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นกระดาษที่มีคุณภาพพิเศษที่ผลิตจากฝ้ายบริสุทธิ์ ที่ในทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนสีนับร้อยๆ ปี ธนาคารทั่วโลกจึงใช้กระดาษฝ้ายบริสุทธิ์ในการพิมพ์ธนบัตรของประเทศ ดังนั้น การเปิดตัวปฐมนิเทศ ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมิใช่เรื่องของวัตถุ แต่ เป็นเรื่องของนามธัมม์ในพระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน ซึ่งมีนัยที่จะเสนอความเป็นมาตรฐานในระดับนานาชาติ ซึ่งนอกจากการอ้างอิง การสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 แล้วยังมีเทคโนโลยีการจัดพิมพ์ที่เป็นมาตรฐานสากล แสดงให้ผู้มีปัญญาที่แยบคายเห็นว่าพระไตรปิฎกชุดนี้ล้ำค่าเช่นเดียวกับธนบัตรที่ไม่สามารถจะปลอมแปลง และทำเทียมได้

 

Untitled-215

ศาลรัฐธรรมนูญ

Royal Gift of Tipitaka 2005

ภาพและวิดีทัศน์ชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๔๘ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ศาลรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย

 

Untitled-216

120069

ภาพชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๔๘ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ประเทศสวีเดน

Tipitaka Press Conference at the Grand Hotel Stockholm.  

The first set to be donated in the western world, the Royal Gift of Tipitaka was displayed for scholars and  Patrons of Sweden before being presented to Uppsala Sweden's oldest University one hour north of the capital.

Organised by Dhamma Society Thailand & Sweden  

Digital Archives from Dhamma Society's World Tipitaka Project in Roman script, 1999-2007

 

Untitled-213

กราฟิก A5 แนวตั้ง

ภาพและวิดีทัศน์ชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๔๖ ปาฐกถาหน้าพระที่นั่ง พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ

กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ จัดปาฐกถาพิเศษหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เรื่อง ๑๑๒ ปี จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. ๑๑๒ พระไตรปิฎกพิมพ์ชุดแรกของโลก : เทคโนโลยีธัมม์สู่โลกโดยคนไทย ณ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเชิญผู้นำของสังคมไทยในวงการเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร วงการธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคลังสมองของชาติ ด้านต่างๆ จำนวน ๑๑๒ คน มาร่วมงานรับทราบข้อมูลที่สำคัญ เพื่อนำเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเผยแผ่พระไตรปิฎกในระดับชาติและระดับนานาชาติต่อไป

นับเป็นพระกรุณาคุณอย่างยิ่งที่หลังจากงานปาฐกถาดังกล่าง สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพระราชฐานะที่ทรงเป็น กุลเชษฐ์พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ในรัชกาลที่ ๙ ได้ทรงรับเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎกสากล  ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ชุด 40 เล่ม  ตามรอยประวัติศาสตร์ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436 ในนานาประเทศทั่วโลก

ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้เสด็จจาริกโดยสายการบินพิเศษไปกลับ กรุงเทพ - กรุงโคลัมโบ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อไปพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน ชุดปฐมฤกษ์ แก่ประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา ตามคำกราบบังคมทูลเชิญ ต่อมาในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เสด็จไปพระราชทาน ฉบับอักษรโรมัน ชุดปฐมฤกษ์ ชุดที่สอง แก่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ ผู้อุปถัมภ์การพิมพ์พระไตรปิฎกสากล เป็นผู้อัญเชิญ ฉบับอักษรโรมัน ชุดปฐมฤกษ์ ชุดที่สาม ไปประดิษฐาน ณ หอสมุด Carolina Rediviva ในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด อายุไม่น้อยกว่า 600 ปี ในภาคพื้นสแกนดิเนเวีย ซึ่งเคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ชุด 39 เล่ม และยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีครบชุด ซึ่งทั้งสองสถาบันนี้ได้กราบทูลขอพระราชทานมาตามลำดับ

เมื่อเวลาผ่านมาร่วม 20 ปี พ.ศ. 2466 รัฐบาลไทยได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี วันประสูติ และ ประชาคมโลกได้ถวายพระสมัญญา ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก พ.ศ. 2566 (The Eminent Personality of the World, UNESCO 2023)

 

Untitled-217

Tipitaka Studies Reference 2007

120224

ภาพชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๔๙ นิทรรศการพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ศาลฎีกา แห่งราชอาณาจักรไทย

ในปี พ.ศ. 2550 โครงการพระไตรปิฎกสากลได้พิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงเป็นชุดพิเศษ 40 เล่ม เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา โดยจัดพิมพ์เป็นพิเศษด้วยระบบดิจิทัลสีชุดแรกของประเทศไทย และได้นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายโดยศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในฐานะที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับพระกรุณาธิคุณรับพระราชทานพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน เป็นสถาบันแรกในประเทศ และเป็นการเจริญรอยตามพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่การศึกษาพระไตรปิฎกสากลให้แพร่หลายในระดับสถาบันสำคัญของชาติ

ลักษณะสำคัญของหนังสืออ้างอิงชุดนี้ คือ การจัดพิมพ์ข้อมูล "คำต่าง" ของศัพท์ในพระไตรปิฎกปาฬิ (เดิมมักเขียนว่า บาลี หรือ บาฬี) ซึ่งได้จัดพิมพ์แยกเป็นประเภท และพิมพ์แยกเป็นเล่ม จำนวน 7 เล่ม เพื่อสะดวกต่อการศึกษาของนักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป อันเป็นการจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกเพื่อใช้ในการศึกษาอ้างอิงด้วยอักษรโรมัน

 

Untitled-218

World Tipiṭaka Presentation 2007

นิทรรศการพระไตรปิฎก กท

133466

ภาพชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๕๐ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล และเทคโนโลยีการพิมพ์ กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศจัดงานพระราชทานพระไตรปิฎก โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นประธาน ณ กระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ เพราะเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว กระทรวงการต่างประเทศไทยได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานจัดการพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศทั่วโลก กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดพิมพ์พระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยาม สำเร็จเป็นชุด เป็นครั้งแรกของโลก และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไป พระราชทานแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศรวม 260 สถาบัน ใน 30 ประเทศ  ทั่วโลก โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการ ต่างประเทศสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้วางแผนจัดส่งพระไตรปิฎกเป็นพระธัมมทานโดยทางเรือได้อย่างสำเร็จงดงาม ในครั้งนั้น ทรงใช้สถานเอกอัครราชทูต ไทย ณ กรุงลอนดอน เป็นศูนย์กลางการจัดส่ง 

บัดนี้ หนึ่งร้อยกว่าปีได้ผ่านไป สังคมโลกผ่านช่วงเวลาแห่งสงครามและสันติภาพ แต่เป็นที่น่ายินดียิ่งว่า พระไตรปิฎกชุดประวัติศาสตร์จากกรุงสยามชุดดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังคงได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นมรดกของมนุษยชาติ ณ สถาบันต่างๆ ใน 30 ประเทศทั่วโลก และกำลังจะมีการพระราชทานพระไตรปิฎกอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ของโลกให้สถาบันต่าง ๆ ข้างต้น อันเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกครั้งหนึ่ง

 

Untitled-219

japan academy

ภาพและวิดีทัศน์ชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๕๑ ปาฐกถาเทคโนโลยีพระไตรปิฎกสากล ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงห้องประชุมคณะเกษตรศาสตร์และชีววิทยา มหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อทรงเป็นประธาน (ร่วมกับเจ้าชายอะกิชิโนะแห่งญี่ปุ่น) ในการแสดงปาฐกถาพระไตรปิฎก (Tipiṭaka Technology Lecture) มีผู้ร่วมเข้าฟังประมาณ ๒๐๐ คน

ปาฐกถาพระไตรปิฎกแสดงโดยศาสตราจารย์โตอิชิ เอนโดะ ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกปาฬิแห่ง มหาวิทยาลัยกัลยาณี กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในนามสภาพระไตรปิฎกสากลของประเทศไทย ศรีลังกา และญี่ปุ่น ซึ่งจะได้กล่าวถึงเอกลักษณ์จากอดีตมาถึงปัจจุบันในการสืบทอดเสียงปาฬิ อันเป็นภาษาธัมม์เก่าแก่ในอารยธรรมอินเดีย และได้เดินทางผ่านจีนมาสู่ญี่ปุ่น ใช้เวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี

นอกจากนี้จะ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีต่างๆ ในอดีตถึงปัจจุบันที่มวลมนุษยชาติได้นำมาอนุรักษ์และสืบทอดพระไตรปิฎกปาฬิ โดยเฉพาะเทคโนโลยีเปิดรหัสต้นฉบับ (Open-source Technology) ซึ่งชาวไทยได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในการจัดสร้างฐานข้อมูลพระไตรปิฎกสากล นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ที่ประชาชนทั่วโลกสามารถเชื่องโยงใช้ได้ เทคโนโลยีมาตรฐานเปิดเหล่านี้ทำให้โครงการพระไตรปิฎกสากลสามารถพัฒนาได้ อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการสร้างระบบบริการอิเล็คทรอนิกส์ที่ทันสมัย (Tipiṭaka Quotation WebService) ซึ่งทำให้นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ทั่วโลกมีส่วนร่วมได้

ในอดีตพระไตรปิฎกปาฬิ มักเข้าใจกันว่าเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพียงอย่างเดียว แต่ปาฐกถาครั้งนี้เป็นการแสดงความสำคัญของพระไตรปิฎกสากลในมิติวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยโตเกียว ระหว่างการบรรยายมีการนำเสนอภาพจดหมายเหตุพระไตรปิฎกด้วยระบบสื่อผสมเทคโนโลยีด้วย

 

Untitled-220

120085

133496

Tipitaka Frankfurt Book Fair 2007

 

ภาพชุดที่  
พ.ศ. ๒๕๕๑ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน และ พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง แฟรงค์เฟิร์ตบุ๊คแฟร์ ประเทศเยอรมนี

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลในนานาประเทศ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกสากลภาษาบาลีอักษรโรมันชุด 40 เล่ม ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลกและหนังสือพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิงชุด 40 เล่มที่จัดพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีนี้ไปร่วมแสดงในงานมหกรรมหนังสือโลกที่กรุงแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 9-14 ต.ค. ในฐานะที่เป็นผลงาน “ภูมิปัญญาไทยสากล” โดยการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์

นอกจากนี้ได้จัดให้โครงการพระไตรปิฎกสากลเป็น “กิจกรรมพิเศษ” ในคูหาของประเทศไทยนับเป็นการนำภูมิปัญญาไทยเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีที่เป็นสากลเพื่อสร้างฐานทางปัญญาและสันติสุขอันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของคำสอนในพระพุทธศาสนาโดยงานมหกรรมหนังสือโลกที่แฟรงก์เฟิร์ตเป็นงานแสดงสินค้าหนังสือสิ่งพิมพ์และสื่อข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันชุดนี้ก็ได้สร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีศักยภาพสำหรับการให้บริการเว็บเซอร์วิสด้วย และยังจัดพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของยุโรปที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หลังจากจัดแสดงนิทรรศการ แฟรงค์เฟิร์ตบุ๊คแฟร์ แล้ว อีกชุดหนึ่ง 80 เล่ม ได้เดินทางไปมอบแก่ศาลโลก ณ พระราชวังแห่งเสรีภาพ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (กดดูพิธีมอบแก่ศาลโลก)

 

Untitled-221

133616

สมโภชพระไตรปิฎกสากล (ชุดซ้ายมือ) พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112  (พ.ศ. 2436) อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล พ.ศ. 2552 ชุด 40 เล่ม รวมดัชนี 1 เล่ม 

และ (ชุดขวามือ) พระไตรปิฎกมหาสังคีติ พ.ศ. 2500 ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ชุด 40 เล่ม อ้างอิงกับฉบับสังคายนานานาชาติ (ฉบับฉัฏฐสังคีติ) พ.ศ. 2500 ปรับปรุงดัชนีการออกเสียงปาฬิใหม่ อ้างอิงกับ อักขรวิธีการออกเสียงปาฬิภาสา (ไม้-อะ) ตามฉบับ อักษรสยาม พ.ศ. 2436 (ชุดซ้ายมือ)

Highlight World Tipitaka Celebration 2009

ภาพชุดที่ ๑๐ 
พ.ศ. ๒๕๕๒ สมโภชพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน และ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ร่วมกับกระทรวงกลาโหม จัดพิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากลและถวายพระไตรปิฎกแด่สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธาน ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 

กระทรวงกลาโหม ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือเป็นเกียรติสูงส่งที่ในอดีตได้มีส่วนในการสร้างพระไตรปิฎก จ.ป.ร. ชุดประวัติศาสตร์ของโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นรากฐานของการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ด้วยเหตุนี้กระทรวงกลาโหม จึงถือเป็นภารกิจหลักที่เข้าร่วมในการสมโภชพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ที่จัดพิมพ์ในใหม่ประเทศไทย เพื่อถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรมทางปัญญาและสถาบันแห่งชาติ และเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐด้วย   

 

Untitled-222

วัดบวร

ปก Tipitaka Reference01

(กดดูรายละเอียดพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง)

ภาพชุดที่ ๑๑ 
พ.ศ. ๒๕๕๒ พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง วัดบวรนิเวศวิหาร

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน ได้จัดพิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ภาษาปาฬิอักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม ขึ้นเป็นพิเศษ 

ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นผู้มอบปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง (Tipitaka Studies Reference) ชุด 40 เล่มนี้ แก่การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติภาษาปาฬิ ซึ่งจัดขึ้นเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 

ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน อันเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาปาฬิ ฉบับสังคายนานานาชาติของโลก โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นพระสังฆราชูปถัมภ์ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานการพระราชทานชุดปฐมฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2548

 

Untitled-223

นิทรรศการ จปร

ภาพและวิดีทัศน์ชุดที่ ๑๒ 
พ.ศ. ๒๕๕๕ นิทรรศการพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดนิทรรศการพิเศษ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในวันวิสาขบูชา ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ในวาระครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมศาสดา และเป็นแก่นแท้ในพระพุทธศาสนา ที่จะต้องรักษาให้บริสุทธ์ิและเที่ยงตรงตลอดไป โดยเฉพาะวิธีการออกเสียง ปาฬิภาสา ซึ่งในพระไตรปิฎก จปร. มีอักขรวิธีการเขียนเสียงควบกล้ำที่ชาญฉลาดด้วย "ไม้ยามัการ" เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันข้อมูลอักขรวิธีการเขียน ปาฬิภาสา-อักษรสยาม มีน้อยคนที่จะเคยได้เห็นและศึกษาอย่างจริงจัง เพราะต้นฉบับมีหลงเหลืออยู่น้อยมาก 

การจัดพิมพ์และเผยแผ่พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ให้แพร่หลายในสื่อเทคโนโลยีการศึกษาต่างๆ พร้อมวิธีการออกเสียงปาฬิภาสาที่เที่ยงตรงตามอักขรวิธีอักษรสยาม จึงเป็นงานสำคัญเบื้องต้นที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลมีนโยบายที่จะส่งเสริมในวาระ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้  

พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ : ฉบับอ้างอิงสากล พ.ศ. ๒๕๕๕ ชุด ๔๐ เล่ม ที่ได้อัญเชิญมาแสดงในนิทรรศการนี้ เป็นหนึ่งในสองชุดพิเศษที่จัดพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัลคุณภาพสูงที่ได้จัสร้างขึ้น อีกชุดหนึ่งพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา ได้ทรงเป็นประธานการจัดพิมพ์ และได้ทรงอัญเชิญไปถวายสมเด็จพระสังฆราชแห่งเมียนมาร์ ณ กรุงย่างกุ้ง เนื่องในวาระ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

 

Untitled-224

120101

Slide59

(กดดูรายละเอียด)

ภาพชุดที่ ๑๓ 
พ.ศ. ๒๕๖๐ นิทรรศการพระไตรปิฎกสากล ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ 

พ.ศ. 2562 มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศไทยว่า หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ขอความอนุเคราะห์พระไตรปิฎกเพื่อเป็นชุดสำคัญที่จะจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรก ณ หอสมุดแห่งชาติอังกฤษแห่งนี้ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ชุดที่จะมอบประกอบด้วยพระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562 ชุด 40 เล่ม พร้อมด้วยฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. พ.ศ. 2559 ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2562 ชุด 80 เล่ม รวมทั้งสิ้น 3 ชุด 120 เล่ม

เนื่องจากหอสมุดแห่งชาติอังกฤษมีความสำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป ชาวตะวันตกโดยเฉพาะประชาชนทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการย่อมได้ประโยชน์จากฉบับอักษรโรมันชุดนี้ เนื่องด้วยเป็นพระไตรปิฎก ฉบับอักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรก ซึ่งจัดพิมพ์ตามมติของการสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 ต่างจากการจัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน โดยองค์กรต่างๆ เช่น เช่น สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ซึ่งอ้างอิงจากต้นฉบับอื่นๆ ก่อนการสังคายนานานาชาติดังกล่าว 

 

Untitled-225

RB-5808

 

832

ภาพชุดที่ ๑๔
พ.ศ. ๒๕๖๑ พระไตรปิฎกสัชฌายะ วัดราชบพิธสถิตสีมาราม

พ.ศ. ๒๕๖๑ พระไตรปิฎกสัชฌายะ วัดป่านานาชาติ

พ.ศ. ๒๕๖๑ พระไตรปิฎกสัชฌายะ วัดนาถกรณธรรม

พ.ศ. ๒๕๖๑ พระไตรปิฎกสัชฌายะ ราชบัณฑิต

พ.ศ. ๒๕๖๑ พระไตรปิฎกสัชฌายะ วชิราวุธวิทยาลัย

 

Untitled-2

กราฟิกสี่เหลี่ยมจัตุรัส

ภาพชุดที่ ๑๕ 
ปาฐกถา ๑๐๐ ปี วันประสูติ สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์พระไตรปิฎกสากล (กดดูรายละเอียดปาฐกถา)

 

Untitled-226

120118

DSC03437

ภาพชุดที่ ๑๖
พ.ศ. ๒๕๖๖ นิทรรศการพระไตรปิฎกสัชฌายะ วัดบวรนิเวศวิหาร 

 

25

133381

ภาพชุดที่ ๑๗
พ.ศ. ๒๕๖๗ นิทรรศการพิเศษ สำหรับทูตวัฒนธรรมประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่อง พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. พุทธศักราช ๒๕๕๙ จัดพิมพ์ใหม่เป็นพระธัมมทาน พ.ศ. ๒๕๖๗

 

Untitled-227

120115

ภาพชุดที่ ๑๘
พ.ศ. ๒๕๖๗ สมโภชพระไตรปิฎกสัชฌายะ วัดบวรนิเวศวิหาร

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ร่วมกับ วัดบวรนิเวศวิหาร จะจัดพิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ (The Saj-jhā-ya Phonetic Tipiṭaka Recitation Edition) ชุด ภ.ป.ร และ ชุด ส.ก. ชุด ๘๐ เล่ม ซึ่งจัดพิมพ์เพื่อส่งเสริมการออกเสียงตามไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ ให้แม่นตรง (สิทธิบัตรการแบ่งพยางค์เสียงสัชฌายะ เลขที่ ๔๖๓๙๐-๒๕๕๗)

พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นองค์ประธานการพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลขอน้อมถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ ชุดปฐมฤกษ์ แก่คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ถวายเป็นพระราชกุศลในรัชกาลปัจจุบัน และหลังจากนั้นจะเผยแผ่พระไตรปิฎกชุดนี้ เป็นพระธัมมทานแก่หอสมุดสำคัญในนานาประเทศทั่วโลก

พิธีสมโภชพระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ ณ วัดบวรนิเวศวิหารครั้งนี้ อยู่ในวาระ ๑๐๐ ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์พระไตรปิฎกสากล ผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก พ.ศ. ๒๕๖๖ (UNESCO 2023)

การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติไทยในพระไตรปิฎก ให้เป็น “ภูมิปัญญาไทย-สากล” ไปในนานาประเทศทั่วโลก