Vatican Library

162706

162741

พระราชพุทธิวรคุณ (อมโร ภิกขุ) ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และได้ถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด 80 เล่ม วันที่ 18 กันยายน พุทธศักราช 2567 ณ นครรัฐวาติกัน

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา - The Pāḷi Phonetic Tipiṭaka Manuscript) และชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ-วรรณยุกต์สามัญ - The Pāḷi Monotone Music Notation) พ.ศ. 2559 ชุด 80 เล่ม มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล จัดพิมพ์ขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาต ในรัชกาลที่ 9 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานการพิมพ์ 

ในวาระปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ร่วมกันดำเนินการเผยแผ่เป็นพระธัมมทานแก่นานาประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นมิตรประเทศที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการ (The Royal State Visit) รวมทั้งนครรัฐวาติกัน

พระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุดพิเศษชุดนี้ สมเด็จพระสันตะปาปา โปรดให้เก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดส่วนพระองค์ หรือที่รู้จักกันว่า The Vatican Apostolic Library อันเป็นหอสมุดที่เก่าแก่กว่า 2,000 ปี ของศริสตจักรอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นโบราณสถานสำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของโลก

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ขออนุโมทนา ครอบครัวคุณกสก และ คุณนภาพร อภัยวงศ์ ทายาทใน คุณเชียด และ ท่านผู้หญิง ม.ล. พวงร้อย อภัยวงศ์ ที่ได้อุปถัมภ์การพิมพ์ชุดพิเศษ ชุด 80 เล่ม ซึ่งกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ เป็นผู้ดำเนินงานจัดทำต้นฉบับ ร่วมกับ มูลนิธิพระไตรปิฏกสากล ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับพระบรมราชานุญาต ในรัชกาลปัจจุบัน ให้เผยแผ่ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลในสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2542

The World Tipiṭaka Foundation
Presentation Ceremony in Bangkok 
before Commencing a Pāḷi Tipiṭaka Pilgrimage 
to Handover to the Vatican City
as a Dhamma Gift of Wisdom & Peace
from the Kingdom of Thailand
Assumption Cathedral Bangkok, June 17, 2024

by

The Most Venerable Amaro Bhikkhu
(พระราชพุทธิวรคุณ),
Abbot of the Amaravati Buddhist Monastery, United Kingdom.
The Honourary Advisor of the World Tipiṭaka Foundation Presentation Worldwide,

(Unofficial Transcription 2024)

I’m extremely happy and honoured to be part of this auspicious occasion of coming here to Assumption Cathedral and meeting Cardinal Kriengsak Kovitvanij, and offering blessings for the Double Edition of the Tipiṭaka (Sajjʰāya Tepiṭaka or Saj-jʰā-ya Phonetic Tipiṭaka Edition), which is to be presented to the Vatican City in Rome, to be part of the Library resources (The Vatican Apostolic Library) there at the very centre of the Catholic faith. 

The world has a lot of confict at present, as it has for many many centuries, but I feel that the best way that we can help to diminish confict is through greater mutual understanding between countries, between nationalities, and between faiths. One of the ways to establish greater understanding is through really good information based on reliable resources. I feel that the World Tipiṭaka Foundation has worked tirelessly for many many years to produce these defnitive editions of the Pāḷi Tipiṭaka, the Buddhist scriptures. This particular pair of editions are the King’s Pāḷi Phonetic Manuscript Edition, 40 Vols. and the Queen’s Pāḷi Monotone Musical Notation Edition 40 Vols.. 

The Pāḷi (Linguistic Sound) is represented in its most accessible form in these volumes, in terms of describing the proper pronunciation (The Sajjhāya Phonetic Recitation) and the most ideal sound for the spoken Pāḷi as well as being accurate written Pāḷi. This is a wonderful resource, a very reliable set of scriptures, for the scholars of Buddhism and the people within the Catholic Church and within the Christian world generally wishing to understand more about the Buddha’s Dhamma.

It’s a wonderful storehouse of knowledge and information, and resource for the scriptures. I can testify that the World Tipiṭaka Foundation have worked exhaustively to track down all of the mistakes, the misprints, the inconsistencies of previous editions, and to establish the most reliable edition in Roman-script (Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500).

So I’m extremely happy to offer my blessings for this occasion and to wish these two sets of the Tipiṭaka well on their way to the Vatican City to be a resource for the Christian Community and for the Catholic World.

 

การที่มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ มอบพระไตรปิฎกสากล เป็นพระธัมมทานแก่นครรัฐวาติกัน และ สาธารณรัฐอิตาลี ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ปาฬิภาสา-อักษรสยาม พ.ศ. 2436 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคล มีนัยสำคัญหลายประเด็นดังนี้

7481

162735(1)

1. เฉลิมพระเกียรติในรัชกาลที่ 9

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เสด็จฯ เยือนมิตรประเทศทั่วโลกอย่างเป็นทางการ (The Royal State Visit) ตลอดระยะเวลาทรงครองราชย์ 70 ปี  ไม่น้อยกว่า 30 ประเทศ ซึ่งรวมนครรัฐวาติกัน และ สาธารณรัฐอิตาลี ด้วย

 

1714049781605

1713950735836

 

 

2. เฉลิมพระเกียรติรัชกาลปัจจุบัน

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำโครงการพระไตรปิฎกสัชฌายะ หรือ เสียงสัชฌายะตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นองค์ประธานการสร้างพระไตรปิฎกสัชฌายะ ในปีมหามงคล 6 รอบ 72 พรรษา พ.ศ. 2567 

Rollup New3

หนังสือ กต

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับแจ้งจากกระทรวงการต่างประเทศ ว่า  คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้บรรจุการเผยแผ่โครงการพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ หรือ ฉบับเสียงสัชฌายะตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ  :

เรียกว่า “โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และชุด ส.ก. พ.ศ. ๒๕๕๙ แก่นานาประเทศ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗” (The World Tipiṭaka Saj-jhā-ya Phonetic Recitation “King Bhumibol Adulyadej” and “Queen Sirikit” Commemorative 2016 Edition : A Gift of Peace and Wisdom for All, The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King's 6th Cycle Birthday Anniversary, 28th July 2024.)

3. คลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ

นครรัฐวาติกัน เป็นที่ตั้งหอสมุดที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดในโลก (The Vatican Apostolic Library) และมิได้เก็บแต่หนังสือในทางคริสตศาสนาเท่านั้น แต่ยังเก็บหนังสือและเอกสารสำคัญต่างๆ ของอารยธรรมโลกด้วย การที่กระทรวงการต่างประเทศอัญเชิญพระไตรปิฎกสัชฌายะ หรือ ฉบับเสียงสัชฌายะตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนปาฬิ ไปมอบเป็นพระธัมมทานครั้งนี้ จึงเป็นการอนุรักษ์คลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ คือ พระไตรปิฎกสัชฌายะ สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกโดยชาติไทย ซึ่งจะประดิษฐานไว้ ณ หอสมุดที่ทรงคุณค่าสมกับที่จะเก็บรักษาพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ

1714124696698

 

4. สัชฌายะ ตามรอยพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จฯ เยือนนครรัฐวาติกัน ซึ่งทรงเป็นผู้นำจากเอเชียพระองค์แรกที่เสด็จฯ เยือนยุโรป และยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์พุทธมามกะที่เสด็จฯ เยือนวาติกันในระดับ Royal State Visit

1714031076727

King Chulachomklao and Pope Leo XIII

พระเจ้ากรุงสยามทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะอย่างภาคภูมิ เมื่อเสด็จฯ เยือนวาติกัน

ในภาพ ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (อังกฤษ : The Ancient and Auspicious Order of the Nine Gems) มีอักษรย่อว่า น.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีความเป็นมาสืบแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พระราชวงศ์ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพุทธมามกะเท่านั้น

การพระราชพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม ไปทั่วยุโรป รวมถึงอิตาลีนับเป็นมิติทางการทูตในอดีตในการเจริญพระราชไมตรีพร้อมกับการเผยแผ่พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์เป็นอักษรสยาม ชุด 39 เล่ม สำเร็จเป็นครั้งแรกไปพร้อมกัน สังเกตได้ว่ามิได้พระราชทานพระไตรปิฎกแก่กรุงวาติกันเพราะในยุคนั้นเป็นการยากที่คณะสงฆ์แคทอริกจะเข้าใจปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท แต่มีหลักฐานว่าได้มีการพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของอิตาลีถึง 22 สถาบัน จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่จะกล่าวต่อไป ดูรายชื่อสถาบันของอิตาลีก็ย่อมเห็นความสำคัญในปัจจุบัน

1714125512176~2

1714099976032~2

เอกสารพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436
พระราชทานแก่สถาบันของอิตาลีถึง 22 สถาบัน
พบ ณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ 

1713950739048

1714125517435

 

5. ตามรอยพระราชประเพณีพระมหากษัตริย์ไทย


เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ เยือนนครรัฐวาติกัน ได้พระราชทานคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน อักษรขอม แด่พระสันตะปาปาด้วย การที่นครรัฐวาติกันให้ความสำคัญรับของพระราชทานในพระพุทธศาสนาในยุคนั้น จึงเปรียบเป็นการพระราชทานเชิงสัญลักษณ์ ด้วยเหตุนี้ พระไตรปิฎกธัมมทานจึงเป็นพระราชประเพณี ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศกำลังจะดำเนินรอยตาม  

1714031064567

 

6. พระธัมมทานที่กอรปด้วยกุศลและบุญกิริยา

ที่กล่าวเบื้องต้น ล้วนเป็นเหตุผลทางประวัติศาสตร์ แต่กุศโลบายทางการทูตปัจจุบันที่จะกระชับพระราชไมตรีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ก็คือการที่จะน้อมถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะแก่พระสันตะปาปาในปัจจุบัน

เป็นที่ประจักษ์ว่าพระสันตะปาปาพระองค์นี้ทรงมีความเป็นผู้นำ ที่สำคัญคือทรงมีพระทัยกว้างขวางอย่างยิ่ง และที่สำคัญที่สุดคือได้เสด็จมาเมืองไทย ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการเสด็จเยือนระดับพระประมุขที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นเมื่อกระทรวงการต่างประเทศได้น้อมถวายพระไตรปิฎกสัชฌายะซึ่งจัดพิมพ์โดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานการพิมพ์ เฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี พระธัมมทานชุดนี้จึงได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ การถวายคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเพื่อสันติสุขและปัญญาของชาวโลกจะเป็นประเด็นสำคัญเปรียบเป็นธัมมนิเทศเผยแผ่อารยธรรมทางปัญญาของพระธัมมทานที่กอรปด้วยกุศล (high-profile dhamma dissemination) ซึ่งจะเป็นตัวอย่างการเผยแผ่เป็นปฐมฤกษ์อย่างงดงามในระดับพระประมุข 

1714031074700

พระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทย
และ
พระสันตะปาปาแห่งคริสตจักรโลก

 

7. เชื่อมประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออกกับตะวันตก

 
พระไตรปิฎกสัชฌายะ ภ.ป.ร. เขียนปาฬิภาสา (Pāḷi Bhāsā) ด้วย อักษรโรมัน (Roman Alphabet) ซึ่งเป็น อักษรของอาณาจักรโรมันอันเก่าแก่และยิ่งใหญ่ของโลกในอดีต Roman Alphabet เรียกตามชื่อ Rome ซึ่งกรุงโรมเป็นศูนย์กลางของ "อาณาจักร" ที่ยิ่งใหญ่ ส่วนนครรัฐวาติกันก็เป็นศูนย์กลางของ "ศาสนจักร" ที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยตั้งอยู่ในกรุงโรมเช่นกัน นี้คือ นัยเชิงสัญลักษณ์ที่นานาชาติจะเข้าใจ ตื่นเต้น และชื่นชม เมื่อเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตะวันตกในอดีตนับพันๆ ปี กับพระไตรปิฎกสัชฌายะของราชอาณาจักไทยในปัจจุบัน

1714047474385

 

8. ภูมิปัญญาพระไตรปิฎกไทยสู่สากล

พระไตรปิฎกสัชฌายะในพระพุทธศาสนาจัดพิมพ์ด้วย สัททะอักขะระโรมัน (Roman Phonetic Alphabet) ซึ่งเป็นศาสตร์ระดับสูง ไม่มีชาติใดทำสำเร็จมาก่อน พระไตรปิฎกสากลชุดนี้จึงเป็นพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประธานกิตติมศักดิ์พระไตรปิฎกสากล ที่ทรงสนับสนุนการพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว ดังนั้นเมื่อมีการมอบฉบับสัชฌายะซึ่งจัดพิมพ์ด้วยอักษรโรมันจัดเก็บรักษาอยู่ในหอสมุดที่เก่าแก่ งดงาม และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยเพื่อสืบค้นและบริการสาธารณะ คุณค่าเพิ่มของภูมิปัญญาพระไตรปิฎกไทยผ่านโครงการพระไตรปิฎกธัมมทาน ย่อมเป็นการส่งเสริมเกียรติคุณของภูมิปัญญาไทยในระดับนานาชาติ นับเป็น ภูมิพระไตรปิฎกไทยสากล

1714031079352

สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
องค์ประธานกิตติมศักดิ์โครการพระไตรปิฎกสากล
พระราชทานพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ในอดีต

 

9. มาตรฐานด้านสหวิชาการสากล

ในด้านสหวิชาการ ฉบับสัชฌายะ หรือ ฉบับเสียงสัชฌายะตามกฎไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ คือ คู่มือการออกเสียงปาฬิภาสา ที่เขียนด้วย สัททสัญลักษณ์ (Phonetic Symbol) ซึ่งจัดพิมพ์เป็นมาตรฐานเสียงปาฬิภาสาที่แม่นตรง ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ฉบับอักษรโรมันที่สมบูรณ์ไม่มีชาติใดจัดพิมพ์สำเร็จมาก่อน ดังนั้น การที่ฉบับ ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) เรียงพิมพ์เป็นฉบับอักษรโรมัน ฉบับแรก (The Roman Phonetic Alphabet Edition) จึงเป็นการจัดพิมพ์ชุดหนังสืออ้างอิงที่สำคัญในทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและภาษาศาสตร์ ผลที่จะเกิดขึ้นคือ ชาวตะวันตกจะสามารถออกเสียงอ่านคำสอนต้นฉบับดั้งเดิมของพระบรมศาสดาในพระพุทธศาสนาได้อย่างเป็นมาตรฐาน และเมื่อศึกษาเทียบกับ ฉบับ ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกที่พิมพ์เป็นโน้ตเสียงดนตรีสากลชุดแรกด้วยแล้ว การออกเสียงพระไตรปิฎกย่อมเป็นมาตรฐานสากลของนานาชาติ การเผยแผ่คำสอนในมิติที่มุ่งเน้นการออกเสียงนี้ จึงเป็นการอนุรักษ์ ยกย่องและบูชาพระพุทธพจน์อันเปรียบเป็นพระบรมศาสดาในพระพุทธศาสนา ดังที่มีบันทึกว่า พระธัมม์และพระวินัยจะเป็นพระศาสดา เมื่อตถาคตล่วงลับไป 

1714114425768

การถอดอักษร (Transliteration) 
และถอดเสียง (Transcription)
จากฉบับ อักษรสยาม เป็น อักษรโรมัน

ภาพล่าง : ประเทศอิตาลีเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมความเฟื่องฟู ความรู้ทางศิลปวรรณกรรมในยุโรป (Renaissance) และ ดนตรีก็เป็นวัฒนธรรมของคริสตศาสนาที่สำคัญของวาติกันนับพันปี เช่น การขับร้องประสานเสียง กริกอเรียน (Gregorian Chant) มีลักษณะเรียบง่ายของเสียงสวด กำเนิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 750 พิธีการศาสนาของวาติกันล้วนมีการบรรเลงดนตรีของคีตกวีที่มีชื่อเสียงของโลกทั้งสิ้น ดังนั้น พระไตรปิฎกสัชฌายะ ฉบับ ส.ก. ซึ่งเรียงพิมพ์เป็นโน้ตดนตรีสากลที่จัดพิมพ์คู่กับฉบับ ภ.ป.ร. ย่อมจะเป็นที่เข้าใจในคริสตจักรวาติกันอย่างดี (ดูรูปโน้ตเสียงด้านล่าง)

1714121514065

ภาพซ้าย :
Gregorian Chant มีลักษณะเรียบง่ายของเสียงสวด
ภาพขวา :
โน้ตเสียงพระไตรปิฎกปาฬิ-เสียงวรรณยุกต์สามัญ (The Pāḷi Monotone Music Notation)

การประดิษฐานพระไตรปิฎกสัชฌายะ ณ นครรัฐวาติกัน โดยเฉพาะที่หอสมุดวาติกัน  จะเปิดเกิดโอกาสให้นักวิชาการชาวตะวันตกได้ศึกษา เนื่องด้วยนักวิชาการชาวตะวันตกคุ้นเคยกับวัฒนธรรมดนตรีทางศาสนาที่เรียกว่า Gregorian Chant ซึ่งมีความเรียบง่ายของเสียงสวด (Monofonic) ในขณะที่พระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะมีความเรียบง่ายของการเปล่งเสียงสามัญ (Monotonic) อาจกล่าวได้ว่าความเรียบง่ายของเสียงกริกรอเรียนและเสียงสัชฌายะย่อมมีพลานุภาพที่ส่งตรงถึงจิตวิญญาณของผู้ออกเสียงและผู้สดับตรับฟัง ด้วยเหตุนี้ พระไตรปิฎกสัชฌายะ โน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งเรียงพิมพ์โน้ตดนตรีสากลที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ แม้ชาวตะวันตกไม่อาจเข้าใจความหมายปาฬิภาสา แต่สามารถฟังเสียงที่นำไปสู่ความสงบ และท้าทายให้เกิดการศึกษาเสียงปาฬิให้ละเอียดลึกซึ้งต่อไป 

เป็นที่น่าสังเกตว่าการออกเสียงพระไตรปิฎกปาฬิภาสาดั้งเดิมในโลกตะวันออก ได้ถูกแทรกแซงทางเสียงด้วยเสียงวรรณยุกต์สุงต่ำของเสียงในภาษาท้องถิ่น (Linguistic Interference) จนเป็นการสวดตามประเพณีที่อาจเปลี่ยนได้ยาก นอกจากนี้การเขียนด้วยอักขรวิธีซ้อนอักขะระของวัฒนธรรมบางท้องถิ่นทำให้ไม่สามารถแบ่งพยางค์เสียงละหุ-พิมพ์สีเบาโปร่ง (Lahu) เสียงคะรุ-พิมพ์สีเข้มทีบ (Garu) (ดูรูปด้านล่าง) ซึ่งการเขียนเสียงละหุคะรุเป็นกฎไวยากรณ์และนวัตกรรมทางเสียงสำคัญในพระไตรปิฎก ซึ่งในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสัชฌายะมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลที่ได้รับสิทธิบัตรในทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ในการพิมพ์เสียงละหุ ด้วยสีเบาโปร่ง และคะรุ ด้วยสีเข้มทึบ

สังเกต การเขียนซ้อนพยัญชนะไม่สามารถแบ่งพยางค์ และแยกพิมพ์เป็นเสียงละหุคะรุได้ และสังเกตด้วยว่า ชุดพยัญชนะอักษรไทยในภาพ เป็น พยัญชนะเสียงสามัญที่ออกแบบใหม่ เรียกว่า อักขะระสัชฌายะ (Akkhara Saj-jhā-ya)

1714124411055

อักขรวิธีซ้อนอักขะระ ปาฬิ-ไตยวน

การแบ่งพยางค์ที่มีการออกเสียงละหุคะรุอย่างชัดเจน ปัจจุบันได้มีการศึกษาพบว่า ลักษณะของคลื่นเสียงวรรณยุกต์สามัญจะมีความเข้มกว่าคลื่นเสียงที่มีวรรณยุกต์สูงต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังสนใจว่ามีผลต่อคลื่นสมองมนุษย์และสุขภาพ จึงเป็นนวัตกรรมสำคัญยุคใหม่ที่น่าสนใจศึกษา และเมื่อประเทศชั้นนำของยุโรปรับรองพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ ชาวโลกก็ย่อมสนใจผลงานของชาติไทยด้วย

1714099424294

นอกจากนี้การจัดพิมพ์ฉบับสัชฌายะ ชุด ส.ก. เป็น นวัตกรรมโน้ตเสียงพระไตรปิฎกสัชฌายะ และน้อมถวายเป็นพระราชกุศล จึงเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ทรงมีพระราชอัจฉริยะภาพทางด้านดุริยางคศิลป์ตะวันตก ที่งดงามและลึกซึ้ง ไปพร้อมกัน และจะเป็นการสนองพระราชประสงค์และดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ทรงมีพระราชศรัทธาในการสร้างพระไตรปิฎกเสียงสัชฌายะ เพื่อเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

กราฟฟิกต่างๆ

1714031081264

ชุดอักขะระชาติพันธุ์ไตจะเผยแผ่ พ.ศ. 2568
หลังจากการเผยแผ่ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. 
ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2567 

Untitled

นวัตกรรมการสร้างสรรค์โน้ตเสียงปาฬิ

นวัตกรรมการพิมพ์พระไตรปิฎกสัชฌายะมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญาเป็นครั้งแรก นับเป็นสิทธิบัตรที่เกี่ยวเนื่องกับพระไตรปิฎกอันเป็นอารยธรรมทางปัญญาสูงสุดของมนุษยชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 และโน้ตเสียงปาฬิ ก็ได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศที่มหกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ พ.ศ. 2566 ณ กรุงเจนีวา และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา โครงการพระไตรปิฎกสากลได้จัดแสดงนิทรรศการผลงานพระไตรปิฎกสากล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สิทธิบัตรมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

ทรัพย์สินทางปัญญาในมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

Untitled-2

รางวัลเหรียญเกียรติยศมหกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ พ.ศ. 2566 ณ กรุงเจนีวา

120085

1714125166113

พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ปกทอง ชุด 40 เล่ม
พระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ปกเงิน ชุด 40 เล่ม 
 

Tipitaka Frankfurt Book Fair 2007

นิทรรศการพระไตรปิฎก
จัดแสดง ณ Frankfurt Book Fair 2008

​ ในฐานะภูมิปัญญาพระไตรปิฎกไทยสากล
สนับสนุนโดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์

การมอบพระไตรปิฎกเป็นพระธัมมทานแก่ นครรัฐวาติกัน และสาธารณรัฐอิตาลี ใน พ.ศ. 2567 ตามรอยประวัติศาสตร์ที่พระเจ้ากรุงสยาม รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระไตรปิฎกอักษรสยามแก่หอสมุดสำคัญระดับโลกเท่านั้น ดังนั้นในปัจจุบันก็จะดำเนินตามรอยประวัติศาสตร์ฉบับอักษรสยามในอดีต 

พระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด 80 เล่ม นี้ เป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลคุณภาพสูง คมชัด งดงามเป็นเลิศ และพิมพ์เพียงชุดเดียวสำหรับมอบแต่ละประเทศจำนวน 30 ประเทศ

อนึ่ง คำว่า Limited Special Commemorative Edition ย่อมมีคุณค่าที่นักบรรณารักษศาสตร์ของหอสมุดชั้นนำทั่วโลกแสวงหาและต้องการเป็นเจ้าของ นอกจากนี้ในรหัสการพิมพ์สากล หรือ ISBN ยังระบุว่าพิมพ์ในปี 2023 ซึ่งเป็นปีของการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ (Centennial) ที่องค์กร UNESCO เฉลิมพระเกียรติสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานการเผยแผ่พระไตรปิฏกสากล ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก 

Slide1

Slide2

กล่าวโดยสรุป โครงการพระไตรปิฎกสัชฌายะมุ่งหวังการมอบพระไตรปิฎกที่เป็นมาตรฐานสากล ที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน อันเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ พร้อมกับสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทย ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นโครงการในทางพระธัมมทูตและในทางพระราชไมตรีระดับสูงที่ไม่เคยมีมาก่อน อันเป็นการสืบทอดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ที่มีปณิธานการเผยแผ่พระไตรปิฎกเพื่อนำสันติสุขและปัญญามาสู่ประชาคมโลก

2024-01-31 พระไตรปิฎก-782

พิธีสมโภชพระไตรปิฎกสัชฌายะ
ภ.ป.ร. และ ส.ก. พ.ศ. 2567

 

10. โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสัชฌายะ พ.ศ. 2567

มูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้รับเชิญจากกระทรวงการต่างประเทศให้เข้าพบรัฐมนตรีเพื่อหารือรายละเอียดในการจัดทำ "โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ฉบับเสียงสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. เผื่อเผยแผ่แก่นานาประเทศทั่วโลก" เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

126674_0801432

กราฟิกรูปหมู่ กต

 

S__81494042

วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567 พระราชพุทธิวรคุณ อมโรภิกขุ รองประธานที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลไปนานาประเทศ ส่งมอบให้แก่ท่านคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ก่อนอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ นครรัฐวาติกัน 

AS_286

แถวบนกลาง ๒ ท่านประธานในพิธี คาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และ พระราชพุทธิวรคุณ อมโรภิกขุ เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ รองประธานที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตโครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ไปยังนานาประเทศ ปฏิบัติหน้าที่แทน พระพรหมวชิรญาณ สุเมโธภิกขุ ประธานที่ปรึกษาฯ

แถวล่างจากซ้ายไปขวา ม.ล. ผกามาลย์ เกษมศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนสยามสามไตร และกรรมการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล, คุณลัดดา จักษา ผู้อำนวยการโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์, คุณคนึงนิจ (อิศรางกูร ณ อยุธยา) ธเนศวร ที่ปรึกษามูลนิธิพระไตรปิฎกสากล และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมถ์ ผู้จัดพิมพ์, คุณอนินทิตา โปษะกฤษณะ ทายาทผู้ก่อตั้งโรงเรียนสยามสามไตร วิถีพุทธตามแนวพระไตรปิฎก และกรรมการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล, คุณนภาพร อภัยวงศ์ ผู้อุปถัมภ์การพิมพ์ และประธานมูลนิธิสายปัญญาสมาคม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ให้เป็นประธานจัดงาน, นายปาณิดล ปัจฉิมสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ผู้รับผิดชอบโครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสัชฌายะร่วมกับมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล, คุณณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองการทูตวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ, คุณลักษมณ์ เตชะวันชัย กรรมการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล, คุณชัชวานนท์ สุนทรวิภาค เลขาธิการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

 

AS_297

สารคดีจดหมายเหตุที่นำเสนอแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นครั้งแรก

 

สารคดีอ้างอิง

Thai State Visit to the Vatican, 1960ปกคู่มือ ภปร สก

กดดูหนังสืออ้างอิงเพิ่มเติม

หมายเหตุ : การนำเสนอ การมอบพระไตรปิฎกสัชฌายะ แก่ นครรัฐวาติกัน และ สาธารณรัฐอิตาลี นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการมอบพระไตรปิฎกสัชฌายะแก่ 30 ประเทศ ทั่วโลก

 

 

ภาคผนวก

131858

131859_0

131860_0

รายละเอียดเพิ่มเติม

พระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร.

พระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ส.ก. 

กระทรวงการต่างประเทศ