Tipiṭaka : Peace for Europe & the World
REMARKS BY H.E. JUDGE ROSALYN HIGGINS,
PRESIDENT OF THE INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE,
ROYAL GIFT OF THE TIPITAKA
12 October 2007
Photo Credit : Dhamma Society Fund
Ambassador Hiranprueck,
President Limvichai,
Major Bunnag,
Excellencies,
Ladies and Gentlemen,
On behalf of the International Court of Justice, I thank you for this generous gift of the “World Tipitaka Edition”, which is given by Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana on the occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary. We are honoured to receive these impressive volumes. Thank you also for your speech, President, and the Royal Message.
This 80-volume collection has been published by the Dhamma Society under the patronage of His Holiness the Supreme Patriarch of Thailand. It has been produced using the latest technology and will be followed by an electronic service available through the Dhamma Society website. In this way, we see modern technology being used to share ancient teachings in the spirit of peace.
I understand that the Constitutional Court of the Kingdom of Thailand is the only institution in Thailand that has received the World Tipitaka Edition. We are delighted to have with us today President Limvichai and his judicial colleagues from the Constitutional Court and the Supreme Court. Contacts with leading national courts are of great importance to us. In 2003, we were pleased to welcome sixty executives of the Justice Administration Courts of the Thai Ministry of Justice to the International Court of Justice for a talk on the work of the Court and a tour of the Peace Palace.
International courts decide international law and national courts decide domestic law, but this division of legal labour is not as simple as it seems. Your jurisprudence forms part of the judicial decisions we look to under Article 38(1)(d) of our Statute, as relevant to the sources of international law. In certain areas of international law, such as the related fields of jurisdiction and State immunity, the input of national courts has a very particular significance.
Photo Credit : Dhamma Society Fund
As we have heard, the World Tipitaka Edition is a Gift of Peace and Wisdom from the people of Thailand. The International Court of Justice, as the principal judicial organ of the United Nations, is dedicated to the cause of peace. The idea of a standing international Court was born 100 years ago at the Hague Peace Conference. The hope was that States would refer their disputes for peaceful settlement rather than wage war against each other. Under the UN Charter, the Court is charged with maintaining international peace and security by settling legal disputes in accordance with international law. We are committed to guarding the respect for international law and promoting peaceful relations between States, and we are pleased to receive a gift given to us in this spirit.
The World Tipitaka Edition is also a reminder of the International Court’s relationship with Thailand in particular, and with the Asian region in general. Since the establishment of the International Court, we have had 13 disputes involving Asian States submitted to us for resolution. The Court has been particularly gratified to find that in recent years Asian States have been turning to us ever more often for judicial settlement of disputes, often bringing cases to us by special agreement. Indeed, hearings in a case submitted jointly to us by Malaysia and Singapore will commence next month. The interest in the Court manifested by Thailand through the presentation of this magnificent gift is greatly appreciated. These volumes will in due course be located in a prominent place at the Court where all can admire them.
I warmly thank you once again for this wonderful presentation to the International Court of Justice given on the occasion of His Majesty’s Birthday.
Photo Credit : Dhamma Society Fund
ร่างคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
คำกล่าวโดย ฯพณฯ ตุลาการ รอสลิน ฮิกกิ้นส์
ประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
พระไตรปิฎกพระราชทาน
12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ฯพณฯ เอกอัครราชทูต สุจิตรา หิรัญพฤกษ์
เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก
ท่านวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลฎีกา
พันตรี สุรธัช บุนนาค
นายกกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราบูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวรฯ
ท่านตุลาการ และ ผู้พิพากษา
สุภาพสตรี และ สุภาพบุรุษทั้งหลาย
ในนามของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านประธานฯ สำหรับ “พระไตรปิฎกสากล” ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา. เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับหนังสือพระไตรปิฎกที่น่าประทับใจชุดนี้ ขอขอบคุณสำหรับคำกล่าวของท่านประธานฯ และพระดำรัส
หนังสือพระไตรปิฎก ชุด 80 เล่มนี้ ได้จัดพิมพ์โดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ. การจัดพิมพ์ได้ใช้เทคโนโลยีล่าสุดและจะมีการเผยแผ่โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย สนทนาธัมม์นำสุข. ด้วยเหตุนี้ เราได้ประจักษ์ถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งได้นำมาใช้ตามปณิธานแห่งสันติสุข
ข้าพเจ้าได้รับทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นสถาบันเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดนี้. วันนี้เรารู้สึกยินดีที่ได้พบท่านประธานวิรัช ลิ้มวิชัย และตุลาการในคณะของท่าน จากศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกา. การติดต่อกับศาลยุติธรรมแห่งชาติระดับสูงมีความสำคัญยิ่งแก่เรา. ในปี พ.ศ. 2546 เรามีความยินดีที่ได้ต้อนรับผู้บริหาร 60 ท่าน จากศาลปกครอง กระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้มาเยือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและสนทนาเกี่ยวกับงานของศาลยุติธรรม.
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยกฎหมายระหว่างประเทศ และศาลยุติธรรมแห่งชาติก็วินิจฉัยกฎหมายในประเทศ, อย่างไรก็ตามการแบ่งงานด้านกฎหมายเช่นนี้มิได้ง่ายดายเสมือนที่ควรจะเป็น. ระบบกฎหมายของท่านเป็นส่วนหนึ่งการวินิจฉัยในระบบตุลาการ ส่วนของเราภายใต้มาตรา 38(1)(d) ของตัวบทกฎหมาย, ซึ่งเกี่ยวข้องกับที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ. ในบางส่วนของกฎหมายระหว่างประเทศ, เช่น ผู้มีอำนาจในการตัดสินคดีทางกฎหมายและการยกเว้นของรัฐ การรับเรื่องต่างๆ ของศาลยุติธรรมแห่งชาตินับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
ดังที่เราได้ทราบว่าพระไตรปิฎกสากลเป็นของพระราชทานเพื่อปัญญาและสันติสุขจากประชาชนชาวไทย. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักด้านตุลาการขององค์การสหประชาชาติ, ได้ทำงานเพื่ออุทิศแก่เหตุแห่งสันติภาพ. ความคิดในการก่อตั้งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกำเนิดขึ้นเมื่อ 100 ปี มาแล้ว จากการประชุมสันติภาพแห่งกรุงเฮก. ความปรารถนาของนานาชาติคือความต้องการนำข้อขัดแย้งให้ยุติอย่างสันติแทนการก่อสงครามระหว่างกัน. ภายใต้กฎบัตรแห่งสหประชาชาติ, ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงโดยการยุติข้อขัดแย้งทางกฎหมายตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ. เราได้ยึดมั่นที่จะป้องกันในความเคารพกฎหมายระหว่างประเทศและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชาติในทางสันติสุข, เราจึงมีความยินดีที่ได้รับพระราชทานสิ่งนี้แก่เราตามปณิธานดังกล่าว
พระไตรปิฎกสากลชุดนี้เป็นเครื่องระลึกถึงความสัมพันธ์ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกับประเทศไทยโดยเฉพาะ, และกับภูมิภาคในเอเชียโดยทั่วไปด้วย. ภายหลังที่ได้มีการสถาปนาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, เราได้รับข้อขัดแย้ง 13 เรื่องเกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศรู้สึกพอใจที่ได้พบว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียได้หันมาหาเราเพื่อยุติข้อขัดแย้งทางกฎหมายมากขึ้น, และบางครั้งได้นำเรื่องต่างๆ มาที่เราด้วยวิธีการพิเศษ. การพิจารณาเรื่องที่ได้ส่งเข้ามาระหว่างประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปรค์จะได้เริ่มขึ้นในเดือนหน้า. การให้ความสนใจแก่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศของประเทศไทยด้วยการมอบของพระราชทานที่สำคัญนี้ นำให้เกิดความรู้สึกที่ซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง. หนังสือพระไตรปิฎกสากลชุดนี้จะตั้งแสดงในสถานที่สำคัญของศาลซึ่งบุคคลทั้งหลายสามารถชื่นชมได้.
ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านอีกครั้งหนึ่งสำหรับการมอบของพระราชทานแก่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
Ref : Baroness Higgins
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Rosalyn_Higgins,_Lady_Higgins