ฉบับสัชฌายะ ณ หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติญี่ปุ่น
สรุป
การมอบพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ
ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. พุทธศักราช 2559 ชุด 80 เล่ม
ณ หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
2nd from right
H.E. Mr. Masato OTAKA,
Ambassador of Japan to Thailand
เปิดโครงการ ณ กระทรวงการต่างประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
1. The World Tipiṭaka Saj-jhā-ya Inauguration
กระทรวงต่างประเทศไทย ได้มอบให้ นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา และคณะ เป็นผู้แทนสถานทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ร่วมกับ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล นำโดย ท่านผู้หญิง ดร. ภรณี มหานนท์ ผู้แทนผู้อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล พร้อมด้วย พระครูวรกิจโกศล ผู้แทนพระพรหมมงคลวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ที่ปรึกษาการเผยแผ่พระไตรปิฎกสัชฌายะ และ พระธชสุโร ภิกขุ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ในฐานะผู้แทนผู้อุปถัมภ์การพิมพ์ฉบับสัชฌายะสำหรับประเทศญี่ปุ่น
(กด อ่านคำกล่าวการมอบฉบับสัชฌายะ)
2. The Saj-jhā-ya Handing-Over to Japan
โครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลฯ ซึ่งดำเนินงานโดยกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล (ดูวิดีทัศน์เปิดโครงการ) ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกสัชฌายะ มามอบ ณ หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ (The National Diet Library of Japan, Kansai-kan, 国立国会図書館関西館) ซึ่งเป็นหอสมุดชาติแห่งใหม่ที่ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีทางบรรณรักษศาสตร์ และ เก็บรักษาพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 (ปกสีน้ำตาล) ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548 (ปกสีทอง) ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นพระธัมมทานในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์ประธานกิตติมศักดิ์พระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน และทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก พ.ศ. 2566 (UNESCO 2023)
3. Historical Background
การอัญเชิญพระไตรปิฎกสัชฌายะมาประดิษฐานบริเวณเมืองหลวงเก่าที่พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมากในอดีตทั้งเกียวโตและนาราจึงเป็นมิมิตรหมายที่สำคัญยิ่งในด้านอารยธรรมของโลก และญี่ปุ่นเป็นมิตรประเทศใน 30 ประเทศที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการ (Royal State Visit) พ.ศ. 2506
ในอดีตหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ แห่งนี้ เป็นสถาบันที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกชุดสำคัญมาแล้ว 2 ชุด (ดูภาพ)
(ดูตัวอย่าง Ebook เล่มประมวลเนื้อหาฉบับอักษรสยาม)
ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ กับ พระไตรปิฎก จ.ป.ร. ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436 ชุด 39 เล่ม ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อศตวรรษที่แล้ว
อักขะระการแบ่งพยางค์ในรูปด้านบน ใช้อ้างอิงในการจัดพิมพ์ ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. พ.ศ. 2559 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้จัดพิธีมอบเป็นพระธัมมทานแก่หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พ.ศ. 2567 นี้
ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ กับ พระไตรปิฎกสากล ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548 ชุด 40 เล่ม พระธัมมทานในสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งใช้อ้างอิงในการจัดพิมพ์ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559
(ดูตัวอย่าง Ebook เล่มประมวลเนื้อหาฉบับอักษรโรมัน)
4. Welcoming Speech by the Library Director
ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ได้กล่าวต้อนรับด้วยความยินดีที่นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา และ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้เดินทางมามอบพระไตรปิฎกสัชฌายะ
5. Handing-Over Speech
นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา ได้กล่าวมอบเป็นภาษาไทย โดยมี มร. จูนิชิ โคนิชิ แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น
มร. จูนิชิ โคนิชิ เป็นประธานสมาคมพุทธศาสนาแห่งญี่ปุ่น ซึ่งได้จัดพิธีพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน แก่สถาบันสำคัญทางการศึกษาและหอสมุดสำคัญของชาติญี่ปุ่น รวม 18 สถาบัน เมื่อ พ.ศ. 2551
พระราชทานฉบับอักษรโรมัน
แก่ 18 สถาบันสำคัญของญี่ปุ่น พ.ศ. 2551
(ดูวิดีทัศน์จดหมายเหตุ)
คำกล่าวมอบฉบับสัชฌายะ มีสารสำคัญว่า
"สัชฌายะ [ Saj-jʰā-ya ] เป็น ปาฬิภาสาในพระไตรปิฎก หมายถึงการออกเสียงที่แม่นตรงตามไวยากรณ์ ฉบับสัชฌายะชุดนี้เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์การเรียงพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรเสียง หรือ สัททสัญลักษณ์ และ โน้ตเสียงปาฬิ-วรรณยุกต์สามัญ ในทางดุริยางคศาสตร์เป็นครั้งแรกของโลก"
ฟังการออกเสียงอ่านสัชฌายะดิจิทัล
The Digital Saj-jhā-ya Phonetic Recitation AI.
จดหมายเหตุเทคโนโลยีพระไตรปิฎก
The World Tipiṭaka Technology
6. Handing-Over of the Saj-jhā-ya Volumes
นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา เป็นผู้นำมอบ ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. เล่มที่ 1 (ปาราชิกะปาฬิ ซึ่งจัดพิมพ์ปาฬิภาสา ด้วยต้นฉบับอักษรสยาม คู่ขนานกับ การถอดเสียง เป็น อักษรโรมัน) แก่ ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ และ ท่านผู้หญิง ดร. ภรณี มหานนท์ ผู้ร่วมอุปถัมภ์ก่อตั้งโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542 ได้มอบ ฉบับสัชฌายะ ชุด ส.ก. ซึ่งอ้างอิงกับ ชุด ภ.ป.ร. โดยพิมพ์ด้วยวิธีถอดเสียง เป็น โน้ตเสียงปาฬิ ในทางดุริยางคศาสตร์ ชุด ส.ก. เล่มที่ 1 (โน้ตเสียงคัมภีร์ปาราชิกะปาฬิ) แก่ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ
ท่านผู้หญิง ดร. ภรณี มหานนท์
ผู้ร่วมอุปถัมภ์ก่อตั้งโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542
มอบ ฉบับสัชฌายะ ชุด ส.ก. เล่มที่ 1/40
จากนั้น พระเถระ และคณะจากวัดศรีสุริยวงศาราม และ คณะผู้อุปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากลในประเทศญี่ปุ่น ร่วมมอบ พระไตรปิฎกสัชฌายะ แก่ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ
พระครูวรกิจโกศล (Ven. Assistant Abbot, Suphakit Balañano) ผู้แทนพระพรหมมงคลวัชราจารย์ วัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ที่ปรึกษากิตติมศักด์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสัชฌายะ
ได้อนุโมทนา และอัญเชิญพระไตรปิฎกสัชฌายะ ภ.ป.ร. เล่มที่ 2/40 มอบแก่ มร. จูนิชิ โคนิชิ ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ แห่งประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่ปรึกษามูลนิธิพระไตรปิฎกสากล โดยมอบแก่ ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ประเทศญี่ปุ่น เป็นพระธัมมทาน จากราชอาณาจักรไทย เพื่อปัญญาและสันติสุข
พระธชสุโร ภิกขุ (Ven. Dhajasurō Bhikkhu) วัดศรีสุริยวงศาราม จังหวัดราชบุรี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล และผู้แทนผู้อุปถัมภ์กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542 ได้อนุโมทนา และอัญเชิญพระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ส.ก. เล่มที่ 2/40 มอบแก่ มร. จูนิชิ โคนิชิ (Mr. Junichi Konishi) ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ แห่งประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่ปรึกษามูลนิธิพระไตรปิฎกสากล มอบแก่ ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ประเทศญี่ปุ่น เป็นพระธัมมทาน จากราชอาณาจักรไทย เพื่อปัญญาและสันติสุข อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่กระทรวงการต่างประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ดำเนินงานเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
7. Saj-jhā-ya Tipiṭaka Recitation
ลำดับท้ายสุดของพิธีเป็นการออกเสียงสัชฌายะ พระธัมมบท นำโดยธชสุโร ภิกขุ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล
(ฟังการออกเสียงอ่านสัชฌายะดิจิทัล)
การออกเสียงสัชฌายะ ตามโน้ตเสียงปาฬิ-วรรณยุกต์สามัญ
The Pāḷi Monotone Music Notoin
โดยผู้เข้าร่วมพิธีทั้งไทยและญี่ปุ่น ร่วมออกเสียงสัชฌายะ ซึ่งเริ่มด้วยปาฬิภาสา ภาคแปลภาษาไทย และแปลอังกฤษ ตามคู่มือการออกเสียงสัชฌายะ
(ดู Handbook Saj-jhā-ya Tipiṭaka)
จบแล้ว อุทิศส่วนกุศลและบุญกิริยา
8. Saj-jhā-ya Tipiṭaka Group Photography
บันทึกภาพร่วมกันกับ พระไตรปิฎกสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ส.ก. ชุดละ 40 เล่ม รวม 80 เล่ม
หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ได้อัญเชิญ ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ปกสีน้ำตาล 2 เล่ม จาก ชุด 39 เล่ม และ ฉบับ Mahāsaṅgīti Tipiṭaka B.E. 2500 : The World Tipiṭaka in Roman-Script Transliteration B.E. 2548 หรือ ฉบับอักษรโรมัน พระธัมมทานในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ปกสีทอง 2 เล่ม จากชุด 40 เล่ม มาประดิษฐานในพิธีด้วย
หอสมุดแห่งนี้ได้รับพระไตรปิฎก ชุดสำคัญเป็นพระธัมมทาน จากสยามประเทศ และ ประเทศไทย รวมถึง 4 ชุด และแสดงให้เห็นว่า หอสมุดเห็นความและเชื่อมโยงระหว่าง ฉบับอักษรสยาม พ.ศ. 2436 (Syām-Script 1893 Edtiion) ซึ่งเป็นต้นฉบับที่ทำให้สามารถถอดอักษร (Pāḷi Alphabetic Transliteration) เป็น ฉบับอักษรโรมัน พ.ศ. 2548 (Roman-Script 2005 Edtiion) และยังเป็นต้นฉบับสำคัญ ในการถอดเสียงปาฬิ (Pāḷi Phonetic Transcription) เป็น ฉบับเสียงสัชฌายะ คือ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. พ.ศ. 2559 (Sajjhaya Phonetic Symbol 2016 Edtiion) ด้วย
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
ขอบคุณ Mr. Junichi Konishi
ผู้ประสานงานกับหอสมุดแห่งชาติการมอบอย่างดียิ่ง
9. Special Exibition at the Library
ผู้อำนวยการหอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ได้พาคณะชมหอสมุด ซึ่งอาคารมีจุดเด่นทางสถาปัตกรรมสมัยใหม่สร้างด้วยกระจกและขุดลงไปได้ดิน 4 ชั้น สูงเหนือพื้นดิน 4 ชั้น รวมทั้งหมด 8 ชั้น เพื่อป้องกันความเสียหายทางภัยพิบัติ
10. Acknowledgement
ขอขอบคุณ ท่านผู้หญิง ดร. ภรณี มหานนท์
ที่ได้เดินทางมาร่วมพิธีมอบพระไตรปิฎกสัชฌายะ ณ ประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่ได้ร่วมอุปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ตั้งแต่เริ่มต้น พ.ศ. 2542 และได้เข้าร่วมสนับสนุนการดำเนินงานมาตลอด โดยเฉพาะการบำเพ็ญกุศลสมโภชพระไตรปิฎกสัชฌายะ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื่องในโอกาส 100 ปี วันประสูติสมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. 2566 องค์ประธานกิตติมศักดิ์โครงการพระไตรปิฎกสากล และทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก (UNESCO 2023)
ขออนุโมทนา
1. ผู้อุปถัมภ์การพิมพ์
ม.ล. ผกามาลย์ เกษมศรี
ผู้แทนผู้อุปถัมภ์การพิมพ์พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. และ ชุด ส.ก. ชุด 80 เล่ม สำหรับกระทรวงการต่างประเทศ และ มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล เพื่อมอบเป็นธัมมทาน ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พ.ศ. 2567
ในภาพ ม.ล. ผกามาลย์ เกษมศรี เป็นผู้แทนผู้อุปถัมภ์ รับใบอนุโมทนาจากท่านผู้หญิง วราพร ปราโมช ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ในวันเปิดโครงการเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร
2. การจัดทำต้นฉบับ จัดพิมพ์ และเผยแผ่
กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค
ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
มูลนิธิพระไตรปิฎกสาล
กระทรวงการต่างประเทศ
3. การจัดส่งพระไตรปิฎกธัมมทาน
กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ คันไซ ประเทศญี่ปุ่น
4. การอุปัฏฐากพระเถระ และคณะ
ปิยะพงษ์ รักพงษ์ไทย
ท่านผู้หญิง ดร. ภรณี มหานนท์
กนก เพ็ชร์คำ
Mr. Junichi Konishi
Mr. & Mrs. Masayuki
Mr. Shinto
ร้านอาหารไทยเมืองโซรากุ
11. Appendix
The World Tipitaka Studies Reference
ตัวอย่าง
ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร. ebook
The King's Edition Anthology
(กดดูตัวอย่าง Ebook)
ฉบับสัชฌายะ ชุด ส.ก ebook
The Queen's Edition Anthology
(กดดูตัวอย่าง Ebook)